รองเท้าส้นสูงเป็นของอาวุธหรือของคู่กันสำหรับผู้หญิงในทุกช่วงวัย เพื่อให้ตัวเองอยู่คู่กับความสวย ความงาม แต่รู้หรือไหมว่า ความสวย ความงามนั้นย่อมแฝงด้วยภัยร้ายที่ซ่อนอยู่ เพราะเมื่อต้องเขย่งอยู่บนส้นที่สูงเดินตลอดทั้งวัน คุณกำลังเสี่ยงเกิดโรคต่างๆ ตามมาโดยไม่รู้ตัว
การสวมรองเท้าส้นสูงทุกวัน ติดต่อกันเป็นเวลานาน ร่วมหลายปี อาจเป็นเหตุที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างร่างกาย เพราะการยืนหรือเดินบนรองเท้าส้นสูงเปรียบเหมือนยืนอยู่บนพื้นเอียง ทำให้กล้ามเนื้อใช้งานหนักกว่าปกติ จนมีการล้าหรือปวดเกร็ง เนื่องจากกระดูกสันหลังและแผ่นหลังโน้มมาด้านหน้า เพื่อให้ร่างกายตั้งตรงและทรงตัวได้ ทำให้กระดูกบริเวณเอวรับน้ำหนักมากขึ้น เมื่อสะสมเป็นเวลานานๆ อาจเกิดอาการปวดเรื้อรัง หรือหมอนรองกระดูกเคลื่อนกดทับเส้นประสาทได้
ระดับที่ร่างกายต้องรับน้ำหนัก
ความสูงนอกจากมีอันตรายต่อการลื่นล้มแล้ว ความสูงที่เพิ่มขึ้นยิ่งจะทำให้ร่างกายต้องแบกรับน้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้นด้วย ดังนี้
- ส้นสูง 1 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 22%
- ส้นสูง 2 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 57%
- ส้นสูง 3 นิ้ว ทำให้ปลายเท้ารับน้ำหนักเพิ่มขึ้น 76%
ผลเสียจากการใส่รองเท้าส้นสูง
- เกิดอาการปวดเท้า เจ็บเท้า เนื่องจากเท้าต้องเขย่งตลอดเวลา ทำให้แรงกดที่ฝ่าเท้าต่อพื้นที่เพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะต่อเท้าส่วนหน้า ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาหนังด้านแข็งที่ฝ่าเท้า อาการเจ็บบริเวณหัวกระดูกฝ่าเท้าด้านหน้า ถ้าด้านหน้ารองเท้าเป็นแบบหน้าแคบหรือหัวแหลม จะทำให้บีบหน้าเท้า ยิ่งเพิ่มความเจ็บปวดแก่ผู้สวมใส่ยิ่งขึ้น และอาจเกิดเท้าส่วนหน้าผิดรูปตามมา เช่น นิ้วหัวแม่เท้าเก ปลายนิ้วเท้างอ เป็นต้น
- ปวดตึงบริเวณน่องและเอ็นร้อยหวาย เนื่องจากการสวมใส่ส้นสูงจะอยู่ในท่ายืนเขย่งตลอดเวลา ทำให้เกิดการตึงของเอ็นร้อยหวาย มีอาการปวดน่องในเวลากลางคืน บางคนถึงกับเป็นตะคริว เพราะกล้ามเนื้อต้องทำงานหนักขึ้น
- ปวดเข่า เข่าเสื่อมก่อนวัย เนื่องจากการเดินบนรองเท้าสันสูง จะมีแรงกระแทกที่ข้อเข่ามากกว่ารองเท้าสันเตี้ย แรงกระแทกยิ่งมากขึ้นตามน้ำหนักตัวและความเร็วในการเดิน
- เสี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ เช่น เท้าแพลง หกล้ม
รองเท้าส้นสูงกับหมอนรองกระดูก
การใส่รองเท้าส้นสูงนั้นยังคงเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกและภาวะเสื่อมอีกด้วยเพราะเมื่อมีภาวะเสื่อม หรือมีการบาดเจ็บจนเปลือกหุ้มฉีกขาดทำให้หมอนรองกระดูกส่วนในปลิ้นออกมา ทำให้เกิดการอักเสบหรือกดทับเส้นประสาทได้ ดังนั้นการใส่รองเท้าส้นสูง จะยิ่งกลายเป็นส่งผลร้ายต่อหมอนรองกระดูกสันหลัง และเมื่อใดที่เรามีอาการปวด ไม่ว่าจะเป็นที่ปวดคอ ปวดหลังหรือเอว อาการปวดอาจร้าว พึงระลึกไว้เลยว่า อาการที่เกิดขึ้นคืออาจเป็นหนึ่งในอาการของโรคหมอนรองกระดูกเคลื่อน
แนวทางการป้องกัน
- เลือกรองเท้าหน้ากว้าง เพิ่มความสบายและรองรับน้ำหนักอย่างสมดุล
- อย่าแหลม อย่าใส่สูงเกินไป ตามผลการวิจัยว่าไว้ว่าไม่ควรเกิน 2 นิ้ว
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้มากเกินไป
- ฝึกบริหารกล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อแกนกลาง (Core Muscle Exercise) เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับช่วงลำตัวและกล้ามเนื้อหลัง
- หากมีความจำเป็นต้องใส่ควรวอร์มกล้ามเนื้อขาและเท้า ด้วยการยืดขาให้ตึงก่อนสวมใส่รองเท้าส้นสูงและถอดออกเพื่อพักเท้าบ้าง หรือหมั่นนวดเท้าหรือแช่น้ำอุ่นเพื่อกระตุ้นการไหลเวียนเลือด
จะเห็นได้ว่ารองเท้าส้นสูงนั้นมีทั้งประโยชน์และผลเสียต่อร่างกายต่างๆ อย่างที่ได้กล่าวมาข้างต้นอย่างอาการปวดหลังนั้น เราสามารถดูแลร่างกายของเรานั้นตามคำแนะนำและอีกหนึ่งอย่างที่เราภูมิใจนำเสนอ คือที่นอนยางพาราแท้ 100 % ที่มีความยืดหยุ่นและคงทนสูงมาผสมผสานกับเทคโนโลยี 7 BODY ZONE SUPPORT ที่มีการรองรับสรีระร่างกายตามหลักการยศาสตร์ จึงช่วยลดและบรรเทาอาการปวดหลังได้ ซึ่งถ้าเราดูแลและปฏิบัติตัวควบคู่กันไปก็จะทำให้เราสามารถใส่รองเท้าส้นสูงได้โดยที่ไม่มีอาการปวดหลัง