ไมเกรนเกิดได้อย่างไร ผ่อนคลายด้วยอะไร

ไมเกรน เกิดจากอะไร

อาการปวดศีรษะที่เรียกว่า “ไมเกรน” คืออาการปวดศีรษะแบบปวดข้างเดียว หรือปวดข้างเดียวก่อนแล้วจึงปวดทั้งสองข้างและบางครั้งที่ปวดมักจะย้ายข้างไปมาหรือย้ายตำแหน่ง แต่บางครั้งอาจจะปวดพร้อมกันทั้งสองข้าง อาจเริ่มมาจากอาการปวดคอ บ่า ไหล่ ก่อนแล้วจึงค่อยๆพัฒนาปวดร้าวตามลำดับ เป็นอีกโรคที่เป็นอันตรายมากกว่าที่เราคิด เพราะอาการของโรคอาจเหมือนไม่ได้ส่งผลรุนแรง และเกิดขึ้นจนเป็นปกติ แต่จริงๆแล้วมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากทีเดียว โดยส่วนใหญ่พบในไว้ทำงานที่มีความเครียดและเสียสุขภาพจิต

ไมเกรน เกิดจากอะไร

เกิดจากความผิดปกติชั่วคราวของระดับสารเคมีในสมอง ทำให้ก้านสมองถูกกระตุ้น หลอดเลือดในเยื่อหุ้มสมองมีการบีบและคลายตัวมากกว่าปกติ เกิดอาการปวดศีรษะตุ๊บ ๆ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียน แพ้แสง จากก้านสมองที่ถูกกระตุ้น

อาการที่มักเกิดจากปวดไมเกรน

  • ปวดหัวตุ๊บ ๆ บริเวณขมับ อาจปวดร้าวมาที่กระบอกตาหรือท้ายทอย และปวดหัวข้างเดียว (บางรายอาจพบว่าปวดหัวทั้งสองข้าง)
  • อาการคลื่นไส้อาเจียน
  • อาการแพ้แสงแพ้เสียง
  • ปวดหัวเป็นครั้งคราว บางครั้งก็สัมพันธ์กับรอบเดือน
  • บางครั้งมีอาการมองเห็นผิดปกตินำ โดยมีอาการนำก่อนปวดศรีษะราม 20 – 30 นาที เช่น เห็นแสงวูบวาบหรือเป็นเส้นๆ ไฟระยิบระยับ เห็นภาพเบลอ เป็นต้น

พฤติกรรมที่มีผลต่อไมเกรน

  • นอนหลับไม่เพียงพอ
  • ขาดการพักผ่อนหรือทำงานหนักเกินไป (ออฟฟิศซินโดรม)
  • ภาวะเครียด
  • กินข้าวไม่ตรงเวลา กินข้าวไม่ครบมื้อ
  • กินอาหารบางประเภทมากเกินไป เช่น กล้วยหอม เนยแข็งและช็อกโกแลต
  • เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนมากเกินไป
  • อยู่ในที่ ที่มีแสงจ้าเป็นเวลานาน
  • การสูบบุหรี่

ไมเกรนจะแบ่งได้เป็น 4 ระยะ

1.ระยะก่อนมีอาการ (Prodrome)

มักจะมีอาการบอกเหตุประมาณ 1 – 2 วันก่อนมีอาการปวดศีรษะ เช่น ปวดตึงตามต้นคอ อารมณ์แปรปรวน ควบคุมการหาวไม่ได้ บวมน้ำหรือปัสสาวะบ่อย เป็นต้น

2.ระยะอาการนำ (Aura)

ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการมองเห็นผิดปกติ เช่น เห็นแสงระยิบระยับ เห็นแสงไฟสีขาวมีขอบหยึกหยัก หรือภาพเบลอหรือบิดเบี้ยว แต่บางรายก็ไม่มีอาการเตือนนำหรือมีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย

3.ระยะอาการปวดศีรษะ (Headache)

เป็นเหมือนช่วงไคลแม็กซ์ของอาการปวดหัวไมเกรน ผู้ป่วยจะมีอาการปวดหัวตุ๊บ ๆ หรือปวดหัวข้างเดียว อาการค่อยๆเพิ่มความรุนแรงขึ้น จนไม่สามารทำงานได้ตามปกติ อาจเกิดร่วมกับอาการคลื่นไส้ อาเจียน และจะแพ้ต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ เป็นพิเศษ เช่น แสงจ้า เสียงดัง

4.เข้าสู่ภาวะปกติ (Postdrome)

ภายหลังจากที่เริ่มหายปวดแล้ว ผู้ป่วยมักจะมีอาการอ่อนเพลีย วิงเวียน เกิดอาการสับสน หรือไวต่อสิ่งเร้าต่าง ๆ รู้สึกหมดแรง อ่อนแรง เหมือนระยะที่สาม

การรักษาอาการไมเกรน แบ่งเป็น 2 แบบ

1.บรรเทาโดยการใช้ยา

การใช้ยาบรรเทาอาการไมเกรน การรับประทานยาทันทีเมื่อมีอาการปวด จะช่วยให้ผลของยาในการบรรเทาอาการปวดมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

  • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดแบบไม่รุนแรง
  • ยาบรรเทาปวด สำหรับการปวดที่รุนแรงมากขึ้น (จำเพาะเจาะจงกับการปวดศีรษะไมเกรน)
  • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน

การใช้ยาป้องกันอาการปวดศีรษะไมเกรน

  • กลุ่มยาลดความดัน
  • กลุ่มยาต้านอาการซึมเศร้า
  • กลุ่มยากันชัก
  • กลุ่มยา Calcitonin gene-related peptide (CGRP) monoclonal antibodies

หมายเหตุ : การใช้ยาควรได้รับคำแนะนำและอยู่ในดุลพินิจของแพทย์ในการจ่ายยา

2.บรรเทาโดยการกายภาพบำบัด

  • การนวดผ่อนคลาย
  • การกดจุดกดเจ็บเพื่อลดอาการร้าว
  • การประคบเย็น หากมีอาการปวด บวม แดง ร้อน
  • การประคบร้อน
  • การดัดดึงข้อต่อบริเวณคอ เพื่อเพิ่มการเคลื่อนไหวของกระดูก

การป้องกันการปวดไมเกรน

นอกจากการป้องกันที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้นยังมีอีกหนึ่งไอเท็มที่ช่วยลดอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และทำให้ร่างกายนอนหลับได้สบายขึ้นนั้นก็คือ หมอนยางพาราแท้ 100% PATEX ที่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับสรีระของทุกรูปแบบและยังมีเทคโนโลยี Nano Zinc Oxide ที่อยู่ในหมอน ทำให้ป้องกันไรฝุ่นและแบคทีเรียที่เป็นต้นเหตุของโรคภูมิแพ้ต่างๆ ทำให้ร่างกายลดความเครียดและกลับมาสดใสจากการนอน

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า