กระดูกสำคัญอย่างไร ดียังไงต่อร่างกาย

ความสำคัญของกระดูก

โครงสร้างของร่างกายมนุษย์นั้นประกอบไปด้วยสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็น กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เส้นประสาท อีกอย่างที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน กระดูกหรือโครงกระดูก เป็นอวัยวะสำคัญที่กำหนดลักษณะรูปร่างของเรา ช่วยสนับสนุนให้ร่างกายตั้งตรง ก้ม และบิดตัวได้นอกจากนี้ กระดูกยังเป็นที่เก็บแร่ธาตุ Calcium ในร่างกาย และช่วยป้องกันเส้นประสาทและหลอดเลือดที่ทอดอยู่ตามแนวของกระดูก อีกทั้งภายในกระดูกมีไขกระดูก ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเม็ดเลือด (Blood cell) วันนี้ เรามาทำความรู้จักกระดูกของร่างกายกัน

ในร่างกายมนุษย์มีกระดูกกี่ชิ้น

ร่างกายของเรานั้นจะประกอบไปด้วยกระดูกซึ่งในผู้ใหญ่นั้นมีรวมทั้งหมด 206 ชิ้น และในเด็กมีนั้นจะมีกระดูกมากถึง 350 ชิ้น สาเหตุเพราะเมื่อเด็กกำลังอยู่ในช่วงวัยของการเจริญเติบโต จึงมีความจำเป็นต้องใช้กระดูกหลายชิ้นในการเชื่อมต่อร่างกาย และเมื่อเด็กเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่นั้น กระดูกสอง สามชิ้นหรือบางส่วนก็จะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นชิ้นเดียวกัน

ร่างกายมนุษย์แบ่งกระดูกยังไง

โดยร่างกายมนุษย์ที่กระดูกนั้นแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่

1.กระดูกแกน

คือ กระดูกที่อยู่บริเวณกลางลำตัว เพื่อทำหน้าที่พยุงค้ำจุนร่างกาย มีทั้งหมด 80 ชิ้น ได้แก่

  • กระดูกกะโหลกศีรษะ มี 29 ชิ้น ไม่รวมฟัน
  • กระดูกสันหลัง 26 ชิ้น
  • กระดูกซี่โครง 24 ชิ้น
  • กระดูกหน้าอก 1 ชิ้น

2.กระดูกรยางค์

คือ กระดูกทีแยกออกจากกระดูกแกน เพื่อพยุงร่างกายและป้องกันอวัยวะภายใน มีทั้งหมด 126 ชิ้น ได้แก่

  • กระดูกแขน มือ ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
  • กระดูกขา เท้า ข้างละ 30 ชิ้น รวม 60 ชิ้น
  • กระดูกไหปลาร้าข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
  • กระดูกสะบักข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น
  • กระดูกเชิงกรานข้างละ 1 ชิ้น รวม 2 ชิ้น

ซึ่งคนมักจะพูดกันว่า กระดูกของคนเรานั้นมักจะเสื่อมเมื่อมีอายุมากขึ้น แต่ความจริง แคลเซียม ในกระดูกนั้นมีการสร้างและสลายตัวอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญหลังอายุ 30 ปีไปแล้ว แคลเซียมจะมีการสลายตัวมากกว่าสร้างใหม่ เพราะฉะนั้นและเราต้องมีการบำรุงกระดูกเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้มากยิ่งขึ้น โดยอาการที่มีแคลเซียมสูง

อาหารที่บำรุงกระดูก

  • นมสด
  • ผักสด ผักใบเขียว
  • ผลไม้
  • ไข่แดง
  • อาหารทีมีวิตามินดี เช่น น้ำมันตับตา

โรคที่เกี่ยวข้องกระดูก

โดยมีที่มาจากหลากหลายสาเหตุ ทั้งจากสภาพแวดล้อมและการใช้ชีวิตประจำวัน ได้แก่

  • พันธุกรรม
  • เชื้อโรค
  • สิ่งแวดล้อม
  • วัยหรืออายุที่มีเพิ่มมากขึ้น

โดยโรคที่พบเจอบ่อย จะเจอที่กระดูกสันหนังซึ่งเป็นกระดูกแกนของร่างกาย กระดูกสันหลังประกอบด้วยกระดูกและกล้ามเนื้อ ซึ่งอยู่ด้านหลังของลำตัว ทำหน้าที่รับน้ำหนักตัว เชื่อมโยงเส้นประสาทจากสมองถึงเชิงกราน

กระดูกสันหลัง แบ่งเป็น 4 ส่วน

  • ช่วงคอ 7 ชิ้น / C1 – C7
  • ช่วงอก 12 ชิ้น / T1 – T12
  • ช่วงเอว 5 ชิ้น / L1 – L5
  • เชิงกราน 1 ชิ้น / S1 – S5 (รวมเป็นชิ้นเดียวกัน)

การบาดเจ็บหรือเจ็บปวดกระดูกสันหลัง

การป้องกันการบาดเจ็บ

  • การรับประทานอาการที่มีแคลเซียมสูง
  • การออกกำลังกาย
  • ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ ไม่เกิน 23 kg/m2
  • การทำกายภาพบำบัด
  • การเลือกใช้ที่รองนอน
  • การปรับพฤติกรรมชีวิตประจำวัน

เราจะเห็นได้ว่ากระดูกนั้นมีความสำคัญร่างกายมนุษย์อย่างเราเป็นที่สุด เพราะฉะนั้นเราต้องดูแลรักษากระดูกเราให้ดี แต่ไม่ใช่ว่าเราจะดูแลกระดูกเพียงอย่างเดียว เราต้องดูแลส่วนอื่นๆของร่างกายด้วยเพราะว่าเมื่อส่วนอื่นๆของร่างกายดีก็จะลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อกระดูกของเราได้ ไม่เพียงปัจจัยภายในร่างกายเราเท่านั้นที่เราต้องดูแล ปัจจัยภายนอกก็มีผลตามี่ได้กล่าวมา ทั้งสถานที่ทำงาน สถานที่ออกกำลังกาย สถานที่นอนเราจะต้องดูแลให้ดี ในการนอนนั้นอย่างพื้นที่นอน การระบายอากาศ ต้องทำให้เรานอนหลับสบาย ไม่ว่าจะนอนหลับในการคืนหรือหลับงีบระหว่างวัน

วันนี้เราเลยมีท็อปเปอร์ยางพารามาแนะนำคือที่นอนทางเลือกที่ไม่ใช่แค่สำหรับคนรักความสะอาดเท่านั้น เพราะนอกจากจะช่วยปกป้องคุณจากเชื้อโรคและไรฝุ่นได้แล้ว ยังช่วยให้คุณนอนหลับได้สนิทและสบายมากขึ้นอีกด้วย รวมทั้งมีคุณสมบัติ 7 BODY ZONE SUPPORT ที่วิจัยและออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ของคนไทยเพื่อแก้ปัญหานอน ป้องกันการบาดเจ็บได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า