หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท อาการปวดหลังที่พบเจอได้บ่อยในวัยทำงาน แม้กระทั้งในเด็กบางคนก็สามารถพบเจอได้ โดยเกิดจากการใช้ชีวิตประจำวันของคนเรา ที่มักมีท่าทาง การลุก ยืน เดิน นั่งและนอน ซึ่งท่าทางเหล่านี้มีผลกระทบต่อโครงสร้างร่างกายเป็นอย่างมาก หากมีพฤติกรรมการลุก ยืน เดิน นอน นั่งทำงานไม่ถูกท่า หรือยกของหนักด้วยท่าที่ไม่เหมาะสม อาการปวดเมื่อยล้าจากท่าเหล่านี้เมื่อปล่อยไว้ มักเป็นการสะสมความผิดปกติให้กับร่างกาย และก่อทำให้เกิดโรคในที่สุด
ภายในหมอนรองกระดูกของกระดูกสันหลัง ประกอบด้วย 2 ส่วนดังนี้
1.Nucleus pulposus
สารน้ำ (คล้ายเจลลี่มากกว่า) ภายในแกนกลางของหมอนรองกระดูก โดยมีหน้าที่ดูดซับแรงกระแทกและกระจายแรงของน้ำหนักตัวที่ส่งผ่านมายังกระดูกสันหลังแต่ละข้อในขณะที่เคลื่อนไหวร่างกาย
2.Annulus fibrosus
เส้นเอ็นก่อตัวเป็นชั้นๆห่อหุ้ม มีหน้าที่ให้ข้อต่อระหว่างกระดูกสันหลังมีความมั่นคงแข็งแรง จากการบิดตัวหรือการก้มเงย ป้องกันไม่ให้สารน้ำใน nucleus pulposus ปลิ้นออกมาภายนอก
โรคหมอนรองกระดูกเอวทับเส้นประสาท
คือ หลังจากหมอนรองกระดูกเกิดการเสื่อม สภาพแล้ว ได้รับแรงกดทับทำให้ fibrous ring เกิดการฉีดขาดของ Annulus fibrosus (เส้นเอ็น) ทำให้ Nucleus pulposus(สารน้ำ) ที่อยู่บริเวณตรงกลางเคลื่อนไหลออกมากดเบียดหรือทับ เส้นประสาท (nerve roots) ทำให้เกิดอาการปวดเอวและขา มักพบในช่วงอายุประมาณ 30-50 ปี ผู้ใช้แรงงานจะพบได้บ่อย ตำแหน่งมีมักพบเห็นได้บ่อยคือ L4-5 , L5 – S1
ระดับที่ 1 Bulging disc คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และตัว annulus fibrosus ยังปกติ
ระดับที่ 2 Protrusion คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 4 มิลลิเมตร และตัวสารน้ำอยู่ชิดกับขอบนอกของ annulus fibrosus แต่ยังไม่ละทุออกมา เริ่มมีอาการปวดหลัง ขาชาเป็นๆ หายๆ
ระดับที่ 3 Extrusion คือ การเคลื่อนของหมอนรองกระดูกมาทางด้านหลังมากกว่า 8 มิลลิเมตรและมีสารน้ำภายในหมอนรองทะลุออกมาจาก annulus fibrosus แต่ก็ยังคงมีการเชื่อมติดกันอยู่ระยะนี้จะมีอาการปวดคงที่ และมีอาการชาตลอดเวล
ระดับที่ 4 Sequestration คือ ภาวะที่หมอนรองกระดูกเคลื่อนจาก annulus fibrosus เต็มที่ และไม่มีการเชื่อมติดกันกันของหมอนรองกระดูกที่ออกมากับที่อยู่ภายใน ระยะนี้ถือว่าร้ายแรงที่สุด อาจต้องเข้ารับการผ่าตัด
อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- ปวดหลัง ปวดบริเวณเอว เป็นๆ หายๆ หรือตลอดเวลา
- ปวดร้าวลงไปถึงขา น่อง หรือเท้า ข้างใดข้างหนึ่ง
- เดินได้ไม่ไกล มีอาการปวดชาลงไปถึงขาเหมือนเป็นตะคริวร่วมด้วย ต้องหยุดพัก แล้วจึงจะเดินต่อไปได้
- ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงของขา กระดกข้อเท้าไม่ได้
- ไอ / จาม / เบ่งถ่าย มีอาการปวด ร้าว เพิ่มมากขึ้น
- อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมการขับถ่าย
- แอ่นตัวแล้วอาการลดลง
- ก้มตัว/นั่ง อาการปวด ร้าว เพิ่มมากขึ้น
การป้องกันหรือบรรเทาอาการ
- ปรับเปลี่ยนท่าทางและพฤติกรรม เช่น ไม่นั่งอยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ ติดต่อกันนานเกิน 1 ชั่วโมง หลีกเลี่ยงการก้มเงย ยกของหนักเป็นประจำ
- ออกกำลังกาย เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อรอบๆ หลังและหน้าท้องให้แข็งแรง
- การเลือกที่นอนที่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย ไม่แข็งหรือนุ่นจนเกินไป
- ฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อหลัง
- ทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ (ต้องได้รับคำแนะนำจากแพทย์หรือเภสัชกร)
- กายภาพบำบัด
การออกกำลังกายแบบ McKenzie exercise
จะช่วยลดอาการปวดหลัง ดันหมอนรองกระดูกที่ปลิ้นออกมาให้กลับเข้าที่ และช่วยลดแรงดันที่กดลงรากประสาทได้
1. ท่านอนคว่ำ (นอนคว่ำธรรมดา)
เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดหลังมากหรือพึ่งเป็นใหม่ๆ จะทำให้ขยับร่างตัวลำบาก การนอนหงายจะไปกระตุ้นอาการปวดให้มากขึ้น จึงใช้การนอนคว่ำเพื่อลดการกดทับของหมอนรองกระดูกสันหลังต่อเส้นประสาทไขสันหลัง นอนคว่ำอย่างน้อยวันละ 15 นาที จนไม่มีอาการปวด
2.ท่านอนคว่ำ
ชันศอก-เหยียดแขนสุด ท่านี้จะเป็นการเพิ่มแรงดัน ให้กับหมอนรองกระดูกสันหลังที่ปลิ้นออกมา โดยแรงดันจากการแอ่นหลังทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังที่กดทับเส้นประสาทกลับเข้าที่ ลดการกดทับ และลดอาการปวด ท่านี้ให้เริ่มทำจากการตั้งศอกขึ้นมาก่อน ให้อยู่ในท่านี้ครั้งละ 1 – 5 นาที หรือสุดทน จึงลงไปพักในท่านอนคว่ำและทำซ้ำ 5 – 10 รอบ เมื่อทำท่านี้จนไม่มีความรู้สึกปวดแล้วจึงพัฒนาเพิ่มแรงดันโดยการเหยียดแขนสุด และทำเหมือนกัน โดยครั้งนี้จะพักในท่าที่รองลงมา
3 ยืนแอ่นหลัง
เป็นท่าที่ทำให้เกิดแรงดันต่อหมอนรองกระดูกสันหลังมากที่สุด แนะนำให้ลองทำเมื่อไม่มีอาการปวดหรือหายดีแล้ว
สรุป
จากที่กล่าวมาข้างต้นถ้าเราปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยป้องกันหมอนรองกระดูกได้และอีกไอเท็มที่จะช่วยให้อาการปวดหลังดีขึ้น คือที่นอนยางพาราแท้ 100% ที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นสูง ความคงทน ทนทานสูงมาก ไม่ยุบคืนตัวไวและไร้ มีระบบรองรับ 7 Body Zone Support รับรองว่าหากใครได้ใช้อาการปวดหลังก็จะค่อยๆ ดีขึ้น การนอนมีคุณภาพยิ่งขึ้น และเมื่อการนอนมีคุณภาพ สุขภาพที่ดีก็จะตามมา