วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคยอดฮิตของคนปวดหลัง

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

มีแต่คนเป็นหมองรองกระดูกทับเส้นประสาท เราไม่อยากเป็นหนึ่งในนั้นเลย ทำยังไงดี ? ไม่ต้องกังวลไป โรคนี้ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากหมั่นสังเกตตัวเอง ปรับเปลี่ยนท่าทางให้ถูกต้อง ออกกำลังให้มาก และใช้หมอนสุขภาพทุกคืนก่อนนอน ขอบอกว่าลดความเสี่ยงไปได้เยอะ

หมองรองกระดูกทับเส้นประสาท คืออะไร

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เป็นโรคที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของหมอนรองกระดูก ซึ่งเป็นไปในลักษณะของการแตกเสียหาย หรือสารน้ำด้านในที่คล้ายเจลลี่ปลิ้นออกมา ถ้าสารน้ำนั้นยังไม่ได้ไปกดทับบริเวณรากประสาทด้านหลัง อาจทำให้เกิดอาการปวดเพียงอย่างเดียว แต่ถ้ากดทับไปยังรากประสาทเมื่อไร จะเกิดอาการปวดร้าว ชา และอ่อนแรงร่วมด้วย

เกิดได้ที่บริเวณส่วนไหนบ้าง

อาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มักเกิดขึ้นใน 2 บริเวณ ได้แก่ บริเวณหลังส่วนล่าง และบริเวณคอ

1. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บริเวณหลังส่วนล่าง

หมายถึง หมอนรองกระดูกเกิดการเสียหาย จนตัวเจลลี่ภายในไปกดทับเส้นประสาทบริเวณหลังส่วนล่าง หรือในทางการแพทย์จะเรียกว่า การกดทับที่บริเวณกระดูกสันหลังชิ้นที่ L3 L4 L5 และ S1 ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อระบบประสาทส่วนเอวไปถึงช่วงขา

อาการที่เกิดขึ้นในบริเวณนี้ ระยะแรกจะรู้สึกปวดช่วงเอวเป็นพัก ๆ บางทีปวดมาก บางทีปวดน้อยสลับกันไป แต่จะรู้สึกปวดได้อย่างชัดเจนเวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ระหว่างวัน โดยเฉพาะตอนนั่งทำงานเป็นเวลานาน หรือตอนก้ม ๆ เงย ๆ และถ้าได้นอนพักสักหน่อย จะรู้สึกได้ทันทีว่าอาการปวดลดลง

เมื่อปล่อยให้มีการกดทับนาน ๆ จะเริ่มเกิดอาการปวดหลังอย่างรุนแรงแบบเฉียบพลัน หรือเรียกว่าปวดร้าวลงขา ซึ่งจะเกิดได้ทั้งบริเวณน่อง ตาตุ่ม ไปจนถึงปลายเท้า จากนั้นตามด้วยอาการชา และอาการอาจรุนแรงมากขึ้นจนส่งผลให้มีปัญหาเรื่องการขับถ่าย

2. หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท บริเวณส่วนคอ

หมายถึง การที่สารน้ำภายในหมอนรองกระดูกกดทับเส้นประสาท บริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ ตั้งแต่ชิ้นที่ C3 ไปจนถึง C7 ซึ่งส่งผลกระทบต่อระบบประสาทที่อยู่บริเวณแขน

อาการที่เกิดขึ้นก็คือ เริ่มแรกจะรู้สึกปวดคอ หรือปวดเมื่อยบริเวณสะบักแบบเป็น ๆ หาย ๆ หันคอแต่ละทีจะรู้สึกว่าลำบาก เพราะปวดตึงไปหมดเหมือนอาการนอนตกหมอน ต่อมาจะชาบริเวณฝ่ามือ รวมถึงชาที่นิ้วมือด้วย

เมื่อเวลาผ่านไปจะเจออาการปวดร้าวไปตามหัวไหล่ แขน อาจจะเป็นเพียงข้างเดียว หรือเป็นทั้งสองข้างในบางราย และอาการสุดท้ายที่บ่งบอกว่าเส้นประสาทถูกกดทับมากแล้ว คือกล้ามเนื้ออ่อนแรง ไม่สามารถออกแรงหยิบจับอะไรได้

วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

การที่หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กลายเป็นโรคยอดฮิตและมีแนวโน้มว่าจะมีผู้ป่วยด้วยโรคนี้มากขึ้นเรื่อย ๆ นั้น ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากพฤติกรรมต่าง ๆ ของเราในแต่ละวัน ที่กำลังทำร้ายสุขภาพโดยไม่รู้ตัว ไม่ว่าจะเป็น การกินจุกจิกอยู่เสมอแต่ออกกำลังน้อย จนทำให้กลายเป็นโรคอ้วนหรือน้ำหนักเกิน การสะพายกระเป๋าหนัก ๆ เป็นประจำ การนั่งทำงานด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง การไม่ได้ปรับเปลี่ยนหมอนที่ใช้นอนทุกคืนให้เป็นหมอนสุขภาพ เป็นต้น สาเหตุเหล่านี้กลายเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้กระดูกสันหลังทั้งส่วนคอและส่วนล่างต้องเจอแรงกดที่มากขึ้น และไม่ได้มีการพักผ่อนที่มากพอ หมอนรองกระดูกจึงเสื่อมสภาพลงเรื่อย ๆ จนแตกเสียหาย

ดังนั้น การป้องกันไม่ให้คุณต้องเป็นหนึ่งคนที่เจออาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท วิธีที่ดีที่สุดก็คือ เน้นที่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต เพราะนี่เป็นโรคผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายได้เอง หากเริ่มทำตามคำแนะนำเหล่านี้ เช่น

นั่งทำงานให้ถูกท่าและปรับเปลี่ยนท่าทางอยู่เสมอ

1. นั่งทำงานให้ถูกท่าและปรับเปลี่ยนท่าทางอยู่เสมอ

ที่ต้องยกเรื่องการนั่งทำงานให้ถูกต้อง เพราะแต่ละวันเราใช้เวลาไปกับการนั่งทำงานหน้าคอมฯ ค่อนข้างเยอะ ดังนั้นเพียงแค่ปรับท่านั่งนิดหน่อย เริ่มต้นจากการนั่งให้ติดพนักพิงเก้าอี้ ถ้าให้ดีหาหมอนมาหนุนเสริมไว้เลยจะได้แน่ใจว่าส่วนหลังได้การรองรับ

ปรับระดับความสูงของเก้าอี้ให้สมดุลกับโต๊ะ ถ้าโต๊ะสูงเกินไปจนนั่งแล้วเท้าลอย ก็หาอะไรมารองเท้าไว้ ไม่งั้นอาจเจออาการปวดข้อเท้าเพิ่มเติมได้ นอกจากนั้น อย่าลืมปรับเปลี่ยนท่าทางทุก 30 นาที หรือลุกเดินไปเข้าห้องน้ำและแวะพักสายตาไปด้วย

ออกกำลังยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

2. ออกกำลังยืดเหยียดกล้ามเนื้อ

หากเราออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ กล้ามเนื้อจะมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น ทำให้ช่วยลดอาการแข็งเกร็งและการตึงของกล้ามเนื้อได้ แต่เวลาออกกำลังกายไม่ควรหักโหมเกินไป หรือใครที่เริ่มมีอาการปวดในระยะแรก ก็ควรหลีกเลี่ยงท่าทางที่จะทำให้ปวดมากขึ้น และระมัดระวังไม่ให้เกิดการหกล้มหรือถูกกระแทก

ยกของด้วยท่าทางที่ถูกต้อง

3. ยกของด้วยท่าทางที่ถูกต้อง

หลักการนั้นจริง ๆ แล้วง่ายมาก เพียงแค่ย่อเข่าลงแล้ว หยิบของมาประคองไว้ แล้วค่อย ๆ ดันตัวขึ้นยืนตรง เพื่อให้กล้ามเนื้อขาเป็นตัวออกแรงช่วยพยุงตัวขึ้น แทนการใช้หลังโน้มลงไปจนสุด

เน้นท่านอนหงาย และใช้หมอนสุขภาพ

4. เน้นท่านอนหงาย และใช้หมอนสุขภาพ

ถ้าคุณไม่ได้มีโรคประจำตัว เช่น โรคปอด โรคหัวใจ หรือมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ควรเลือกท่านอนหงายให้เป็นท่านอนประจำตัว เพราะการนอนหงายจะทำให้น้ำหนักตัวกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ ของแผ่นหลังได้สม่ำเสมอที่สุด และกระดูกสันหลังได้เรียงตัวอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่เสี่ยงโค้งงอเหมือนท่านอนคว่ำหรือท่านอนคดตัว

ที่สำคัญคือการใช้หมอนสุขภาพ เพราะการออกแบบของหมอนสุขภาพนั้น จะทำให้ด้านหนึ่งสูงและด้านหนึ่งต่ำ เพื่อช่วยรองรับกับช่องว่างของต้นคอได้อย่างสมดุล เวลานอนไปนาน ๆ จึงไม่ทำให้ศีรษะแหงนไปจนกล้ามเนื้อและกระดูกด้านหลังคอเกิดอาการบาดเจ็บ

หมอนสุขภาพที่ดียังทำมาจากวัสดุที่ยืดหยุ่นสูง จึงใช้แล้วไม่เจอปัญหาการยุบตัวหรือนิ่มเกินไปจนนอนตกหมอน นอกจากนั้น ควรเลือกหมอนที่เหมาะสมกับท่านอนหงาย และใช้หมอนรองใต้เข่าไปด้วย ก็จะลดอาการหลังแอ่นที่เป็นสาเหตุให้หมอนรองกระดูกเสื่อมได้

คงไม่มีใครอยากเป็นเจ้าโรคยอดฮิตนี้ เพราะฉะนั้น อย่าลืมป้องกันตัวเองให้มาก ๆ ใครยังไม่ได้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ต้องเปลี่ยนด่วน ใครยังไม่มีหมอนสุขภาพ ต้องมีด้วย มาเริ่มดูแลสุขภาพไปด้วยกันเถอะ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า