ปรับอิริยาบถให้ถูกต้อง ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ทราบกันหรือไม่ว่า อิริยาบถต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ว่าจะเป็นการยืน เดิน นั่ง หรือนอน หากเราอยู่ในท่าทางเหล่านี้ที่ถูกไม่ต้อง อาจทำเราให้มีปัญหาปวดหลังไปจนถึงหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ ดังนั้นเราควรเรียนรู้เรื่องการยืน เดิน นั่ง และนอนที่ถูกต้อง เพื่อป้องกันและแก้ปวดหลัง อีกทั้งทำให้เราสามารถใช้ชีวิตได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

อิริยาบถทั่วไปในชีวิตประจำวัน ทำให้เราป่วยได้อย่างไร

ตามจริงแล้วการยืน เดิน นั่ง และนอนไม่ได้ทำให้คนเราเกิดอาการเจ็บป่วยได้ แต่ ณ ปัจจุบัน ท่าทางตามปกติเหล่านี้กลายเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้คนเรามีอาการเจ็บป่วยมากขึ้น โดยเฉพาะอาการปวดหลังและหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เนื่องจากเราใช้เวลาในการทำท่าเหล่านี้นานเกินไป

ตัวอย่างเช่น ทำงานที่ต้องอยู่ในท่ายืนหรือเดินตลอดเวลา นั่งทำงานอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน หรือใช้เวลานอนเล่นโทรศัพท์บนที่นอนมากเกินไป เป็นต้น ประกอบกับมีลักษณะท่าทางที่ไม่ถูกต้องร่วมด้วย เช่น ยืนไหล่ห่อ คอยื่น นั่งหลังค่อม ทำให้มวลกล้ามเนื้อ กระดูกและข้อต่อจึงต้องทำงานหนักขึ้น เป็นผลให้เกิดอาการเจ็บป่วยตามมา

ท่าทางที่ถูกต้อง ช่วยแก้ปวดหลัง ป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ท่ายืน

1. ท่ายืน

  • เริ่มแรกให้เราลองยืนพิงกำแพง จากนั้นให้บริเวณหู ไหล่ ส่วนเชิงกราน หัวเข่า ไปจนถึงข้อเท้า อยู่ในแนวเส้นตรงเป็นระนาบเดียวกัน
  • วิธีตรวจสอบว่าแนวลำตัวอยู่ในระดับเสมอกันดีแล้ว ก็คือ ส่วนกะโหลกศีรษะ ช่วงสะบักหรือหลังส่วนบน ช่วงก้น และส้นเท้าจะต้องแนบชิดติดกับกำแพง
  • ถ้ารู้สึกว่าตัวกำลังแอ่นไปข้างหน้า ให้ขมิบก้นเล็กน้อย แขม่วท้อง พร้อมกับดึงสะบักและช่วงหัวไหล่ไปด้านหลัง
  • หากต้องยืนอยู่เป็นเวลานาน ให้ยืนกางขาออกเล็กน้อย ความกว้างประมาณช่วงสะโพกของตัวเอง
  • เวลาที่กางขาออกให้ถ่ายน้ำหนักไปที่ขาและเท้าทั้งสองข้างอย่างเท่า ๆ กัน จะทำให้เราทรงตัวได้อย่างสมดุล
  • หากยืนนานแล้วเมื่อยจนอยากยืนทิ้งน้ำหนักไปที่ขาหรือเอวด้านหนึ่งเต็ม ๆ ก็สามารถทำได้ แต่ต้องคอยสลับข้างกันอย่างสม่ำเสมอ หรือถ้าเริ่มรู้สึกตึงที่ขาด้านหนึ่งก็เปลี่ยนสลับข้างได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องรอให้ครบเวลาหรือมีอาการปวด

ท่าเดิน

2. ท่าเดิน

  • ทุกครั้งที่ออกก้าวเดิน พยายามลงน้ำหนักไปที่ส้นเท้าก่อน จากนั้นค่อยไล่มาที่บริเวณฝ่าเท้าอย่างเต็มที่ จากนั้นใช้ปลายเท้าเป็นตัวช่วยออกแรงผลักไปข้างหน้า
  • อย่าลงน้ำหนักที่ส้นเท้าหรือปลายเท้าแรงเกินไป เพราะสองจุดนี้ไม่ใช่ส่วนที่รับน้ำหนักร่างกายได้มากพอเหมือนบริเวณฝ่าเท้า จึงอาจทำให้เกิดการบาดเจ็บตามมาได้
  • เวลาเดินต้องคอยเตือนตัวเองให้แขม่วท้อง ยืดตัวตรง เหมือนกับว่าร่างกายกำลังถูกดึงขึ้นจากด้านบน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง ลดแรงกระแทกกดทับไปที่ข้อต่อ จึงป้องกันและแก้ปวดหลังได้ดี
  • ระยะของการก้าวให้เป็นไปตามธรรมชาติของแต่ละบุคคล เช่น เป็นคนช่วงขาสั้น ก็ไม่จำเป็นต้องก้าวเท้ายาว ๆ เพราะจะทำให้กล้ามเนื้อขาตึงมากเกินไปได้
    อ่านบทความเกี่ยวกับการเดินเพิ่มเติมที่ : เดินผิดออร่าหาย แถมยังได้ปวดหลัง

ท่านั่ง

3. ท่านั่ง

  • ขั้นแรกต้องนั่งเก้าอี้ให้เต็มก้น หรือแผ่นหลังต้องแนบชิดกับพนักพิงได้อย่างพอดี แผ่นหลังจะได้ผ่อนคลายเพราะไม่ต้องหดเกร็งเพื่อประคองลำตัวให้อยู่ในแนวตรง
  • ปล่อยไหล่สบาย ๆ ไม่ควรยกไหล่หรือห่อไหล่มากเกินไป
  • เวลานั่งต้องมีการลงน้ำหนักที่ช่วงสะโพก ก้น และเท้าให้เท่า ๆ กัน
  • ถ้ามองจากมุมด้านข้าง ข้อศอกที่อยู่บนที่วางแขนจะทำมุม 90 องศา รวมถึงช่วงสะโพและหัวเข่าก็ทำมุม 90 องศาเช่นเดียวกัน
  • สำหรับคนที่ต้องนั่งทำงานนาน ๆ อย่าปรับให้ตัวเองต้องเลื่อนเข้าหาหน้าจอมคอมฯ หรือโต๊ะ แต่ควรยึดหลักที่อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องเลื่อนเข้ามาหาเรา โดยที่แผ่นหลังและลำตัวของเราไม่ต้องขยับ ซึ่งเป็นหนึ่งในวิธีนั่งตามหลักการยศาสตร์ลดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ด้วย
  • หลีกเลี่ยงท่านั่งไขว่ห้างที่ทำร้ายสุขภาพ เพราะเป็นท่าที่กระดูกต้องบิดตัว ก้นต้องรับน้ำหนักข้างเดียว และเส้นประสาทและหลอดเลือดจะถูกกดทับมาก

ท่านอน

4. ท่านอน

ท่านอนหลัก ๆ ของคนเราจะมีอยู่ 2 ท่า คือ ท่านอนหงายและท่านอนตะแคง

  • ท่านอนหงาย ต้องให้แนวกระดูกส่วนหลังตั้งแต่ส่วนคอ ลำตัว เป็นเส้นตรง และให้ใช้หมอนที่เหมาะสมกับท่านอน คือสอดรับกับช่วงคอได้พอดี นอกจากนั้น อาจใช้หมอนรองขามาเสริมไว้ใต้หัวเข่า เพื่อให้แผ่นหลังแนบกับที่นอนได้มากขึ้น
  • ท่านอนตะแคง ควรให้แนวกระดูกสันหลังอยู่ในแนวเดียวกันเหมือนท่านอนหงาย และใช้หมอนข้างมาแทรกระหว่างลำตัว เพื่อให้แขนและขาส่วนบนได้ก่าย และไม่กดทับบริเวณขาส่วนล่างมาก พร้อมทั้งเป็นการป้องกันไม่ให้แนวกระดูกช่วงเอวบิดตัวลงมามากเกินไปด้วย

Topper ยางพารา PATEX

เสริมด้วยไอเทมเพื่อสุขภาพ อย่าง Topper ยางพารา PATEX

นอกจากหมั่นปรับท่าทางในชีวิตประจำวันให้ถูกต้อง การใช้ตัวช่วยพิเศษอย่าง Topper ยางพารา PATEX ย่อมป้องกันไม่ให้เราเจออาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้มากขึ้น เพราะ Topper ของ PATEX ผ่านการวิจัยและออกแบบตามหลักสรีรศาสตร์ของคนไทยมาตลอด 50 ปี จนได้เป็นเทคโนโลยี 7 BODY ZONE SUPPORT ที่ทำขึ้นมาเพื่อรองรับสรีระร่างกายได้อย่างครอบคลุม พร้อมกับแก้ปวดหลังได้อย่างดีเยี่ยม ที่สำคัญม้วนพับเก็บง่ายจึงติดตามคุณไปได้ทุกกิจกรรม ใครอยากรู้ว่า Topper ของ PATEX เขาดีขนาดไหน คลิกเข้าไปดูของจริงได้ที่ Topper ท็อปเปอร์ยางพาราแท้ 100% เชื่อเถอะว่าใครมีติดบ้านไว้ ไม่มีเสียใจแน่นอน เพราะจะได้แต่ความคุ้มกับคุ้มเท่านั้น

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า