ทำงานบนเตียง ช่วง WFH ใครว่าดี ? มีข้อเสียเพียบ

ทำงานบนเตียง

ปัจจุบันสภาพแวดล้อมกำลังเปลี่ยนแปลง เชื้อโรค มลพิษมีมากขึ้นรอบตัวเรา หลายคนจึงหันมาใช้ชีวิตแบบ Work from Home กันมากขึ้น พอได้อยู่บ้านบ่อย ๆ ก็คงมีบ้างที่นำงานมาทำให้ห้องนอน ไป ๆ มา ๆ กลับกลายเป็นนั่งทำงานบนเตียงจนติดเป็นนิสัย จริงอยู่ที่การทำงานแบบนี้อาจดูสะดวกสบาย แต่ในระยะยาวอาจเจอข้อเสียมากมายด้วยเช่นกัน

5 เหตุผลว่าทำไมอย่าทำงานบนเตียงบ่อยเกินไป

1. งานไม่เดิน เพราะความขี้เกียจครอบงำ

แค่นึกถึงการล้มตัวนอน หลายคนก็คงเข้าใจความรู้สึกที่แสนสบายได้ดี ยิ่งถ้ามีที่นอนประจำตัวเป็นที่นอนยางพาราแท้คุณภาพดีแล้ว หลายคนอาจเจอภาวะเตียงดูดไปตาม ๆ กัน ซึ่งการปล่อยให้ตัวเองทำงานบนเตียงไปเรื่อย ๆ จะทำให้ร่างกายคุ้นชินกับสภาพผ่อนคลายอยู่ตลอดเวลา ระดับพลังงานและความตื่นตัวของร่างกายจะลดลง สมองจึงไม่โฟกัสกับงานตรงหน้าอีกต่อไป และส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานในที่สุด นอกจากนั้น อาจเปลี่ยนให้คนขยันทำงาน กลายเป็นคนขี้เกียจไปได้เลย

2. เจออาการปวดเมื่อย ทั้งที่อายุยังไม่มาก

เพราะท่าทางการทำงานบนเตียงส่วนใหญ่ คือท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน ซึ่งกระดูกสันหลังจะมีลักษณะโค้งงอมากเกินไป จึงเร่งเวลาให้กระดูกสันหลังเสื่อมเร็วขึ้น สุดท้ายหลายคนจึงเจออาการปวดหลังแล้ว ทั้ง ๆ ที่อายุยังไม่เยอะ ที่หนักไปกว่านั้นคือ บางคนถึงกับนอนทำงาน โดยมีโน้ตบุ๊กหรือแท็บเลตวางอยู่บนตัว ทำให้ต้องเกร็งช่วงคอเพื่อเงยมองหน้าจอ นานเข้าก็เจออาการปวดคอเพิ่มมาอีก เรียกได้ว่าทำงานบนเตียงแต่ละที กระดูกและกล้ามเนื้อทั่วร่างมีแต่จะแย่ลงเรื่อย ๆ

3) ไม่ใช่แค่ร่างกายพัง ยังเสี่ยงเจออาการป่วยทางจิต

คนที่เสพติดการทำงานบนเตียง มักเจออาการป่วยทางจิตอยู่ 2 แบบด้วยกัน ดังนี้

ภาวะเสพติดเตียง (Clinomania)

เป็นภาวะที่มีอาการเสพติดการนอน หรือไม่อยากลุกออกไปทำกิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งมีความร้ายแรงเทียบได้กับการนอนไม่พอ และยังนำไปสู่การเกิดโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง โรควิตกกังวล และโรคซึมเศร้า โดยภาวะเสพติดเตียงนี้ เป็นผลจากการมีพฤติกรรมที่ชอบใช้ชีวิตอยู่บนเตียง หรือติดนิสัยทำงานบนเตียง แม้ช่วงแรก ๆ อาจจะมีความสุข แต่ด้วยความยากของงานจึงทำให้เกิดอาการเครียดได้ ระหว่างทำงานจึงขอล้มตัวนอนสักพัก เมื่อใช้ชีวิตวนลูปแบบนี้ไปเรื่อย ๆ สุดท้ายร่างกายจะจดจำว่า การแก้เครียดจากงานคือการล้มตัวนอน กลายเป็นอาการเสพติด ไร้เรี่ยวแรงที่จะลุกไปทำอะไร สุดท้ายกลายเป็นอาการทางจิตที่ต้องเข้ารับการรักษา

ภาวะซึมเศร้า (Depression)

การทำงานบนเตียงบ่อย ๆ เหมือนเราได้นอนหลับอย่างสบายใจบนที่นอนตัวโปรดไปด้วย เมื่อไม่ได้มีเส้นแบ่งเวลาหรือแบ่งพื้นที่การทำงานกับการพักผ่อนอย่างจริงจัง ร่างกายจึงเสพติดการนอนที่มากเกินไป ทำให้เกิดการแปรปรวนของฮอร์โมนในร่างกาย โดยเฉพาะสารที่ชื่อว่า เซโรโทนิน (Serotonin) และเอนดอร์ฟิน (Endorphin) ที่เป็นสารเคมีด้านอารมณ์และความสุขจะลดต่ำลงเรื่อย ๆ ทำให้สมองเฉื่อยชา ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่าอีกต่อไป จนนำไปสู่การเกิดภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

4) ที่นอนเสื่อมสภาพเร็ว ทำให้นอนหลับไม่สบาย

นอกจากเจอน้ำหนักของร่างกายที่กดทับอยู่ตลอด ระหว่างทำงานบนเตียง หลายคนมักนำสิ่งของอื่น ๆ มาไว้บนที่นอนด้วย โดยเฉพาะเครื่องดื่ม อาหาร ที่พอร่วงหล่นบนที่นอนแล้ว อาจทำให้เกิดเชื้อราหรือเชื้อโรคสะสมเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยที่เร่งให้ที่นอนเสื่อมสภาพได้เร็ว ใครที่บอกว่าไม่ทันแล้ว เพราะเจอปัญหาที่นอนยุบตัว แถมมีกลิ่นอับบนที่นอน ต้องทำความสะอาดที่นอนให้มากขึ้น พร้อมกับใช้ ท็อปเปอร์ยางพารา PATEX มาเป็นเกราะป้องกันที่นอนตัวเดิม

ทำไมต้องเลือกท็อปเปอร์ยางพารา PATEX ? ก็เพราะท็อปเปอร์ยางพาราของเราผ่านการคิดค้น วิจัย และมุ่งมั่นพัฒนามากว่า 50 ปี จนมีผลิตภัณฑ์ท็อปเปอร์ยางพาราคุณภาพสูง ช่วยกระจายแรงกดทับ และมีคุณสมบัติระบายอากาศจึงป้องกันการอับชื้น เชื้อราและกลิ่นอับไม่กวนใจ มีไว้แล้วดีต่อผู้ใช้ และยืดอายุที่นอนตัวเดิมไปได้อีกนาน (ถ้าให้ดีกว่านี้ ต้องเลิกนิสัยทำงานบนเตียงด้วยนะ)

5) ความสัมพันธ์สั่นคลอน ทักษะทางสังคมติดลบ

ทุกวันนี้เรามักใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมาก ความสัมพันธ์ของเรากับคนรอบข้างจึงไม่แนบแน่นเท่าการได้พบปะกันจริง ๆ อยู่แล้ว ยิ่งเมื่อถึงเวลาช่วงกลางคืน ที่ควรได้พักผ่อนร่วมกับคนรักหรือครอบครัว หลายคนกลับละเลยคนข้าง ๆ และเลือกทำงานบนเตียงต่อไป คนใกล้ตัวจึงอาจเหงาได้ ความสัมพันธ์ที่เคยสนิทสนม อาจกลายเป็นเมินเฉยและไม่สนใจกันในที่สุด เมื่อเกิดพฤติกรรมนี้ซ้ำ ๆ สุดท้ายเราจะกลายเป็นคนไม่สนใจคนอื่น ทำให้ทักษะทางสังคมค่อย ๆ แย่ลงโดยไม่รู้ตัว

สรุป

ทำงานบนเตียงบ่อย ๆ ไม่ใช่เรื่องปัง เพราะมีแต่พังล้วน ๆ ทั้งงานพัง ร่างกายพัง สุขภาพจิตพัง ที่นอนพัง ความสัมพันธ์ยังพัง ไม่อยากให้ชีวิตแย่ไปกว่านี้ จดโน้ตเตือนตัวเองไว้ให้ดีว่า ถึงคราว Work from Home เมื่อไหร่ ห้ามนั่งทำงานบนเตียงเหมือนเดิม และหันไปนั่งบนโต๊ะอย่างจริงจังเท่านั้น อย่าลืมนั่งทำงานให้ถูกท่า และให้เวลาตัวเองได้พักผ่อนด้วยนะคะ ชีวิตจะได้แฮปปี้ในทุก ๆ เรื่อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า