เคยมีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ตรวจแล้วหาสาเหตุไม่เจอ แต่ดูดีๆอาการปวดอาจมาจากสะบักก็ได้ เพราะเมื่อมีความผิดปกติที่โครงสร้างไม่ว่าส่วนใดส่วนหนึ่ง ล้วนส่งผลต่อการทำงานของโครงสร้างอื่นๆรอบๆไปด้วย แล้วเคยสังเกตหลังของตัวเองไม่ว่ามีช่วงสะบักนูน ๆ พอง ๆ ออกมา ไม่แนบชิดสนิทลงไปกับแผ่นหลังคล้าย ๆ กับปีกไก่หรือไม่ ซึ่งลักษณะดังกล่าวไม่ใช่เป็นเรื่องปกติ จะทำให้เราเกิดภาวะสะบักนูนหรือสะบักลอยเกิดขึ้น (winging Scapular ) แล้วอาการปวดต่างๆก็จะตามมาได้
สะบักลอย (Winged scapular) คือ
ภาวะที่กระดูกสะบัก ยื่นออกมาคล้ายปีกหรือมุมล่างของกระดูกสะบัก(inferior angle)ยื่นออกห่างจากผนังทรวงอกคล้ายปีกทางด้านหลัง เนื่องมาจากความอ่อนแรงของกล้ามเนื้อรอบสะบัก ซึ่งอาจเกิดขึ้นขณะกำลังลดแขนลงจากท่ายกแขน หรือ ขอบแนวแกนกลางของกระดูกสะบัก (Medial border) ยื่นออกห่างจากทรวงอกในช่วงที่เริ่มยกต้นแขนขึ้น
สาเหตุที่ทำให้เกิดสะบักลอย
- เกิดจากกล้ามเนื้อรอบๆสะบักทั้งหมดขาดความสมดุลระหว่างกัน ทำให้กลไกการทำหน้าที่ของสะบักผิดปกติ คือมีบางมัดที่แข็งแรงเกินไป หรือมีบางมัดที่อ่อนแอเกินไป
- เกิดจากการหดสั้นของกล้ามเนื้อหน้าอกมัดด้านใน Pectoralis minor ซึ่งทำให้มีการดึงรั้งบริเวณปุ่มกระดูกสะบัก Coracoid Process จนส่วนบนของสะบักถูกกดคว่ำมาทางด้านหน้า และมุมล่างของสะบักยื่นนูนออกไปข้างหลังจนเห็นได้ชัดเจน จนคลายปีกไก่หรือเรียกว่า Anterior tilting ที่แปลว่าการบิดไปข้างหน้านั่นเอง
- เกิดจากการหดสั้นหรืออ่อนแรงของกล้ามเนื้อสีข้าง Serratus anterior หรือ กล้ามเนื้อคอบ่าและหลังส่วนบนอย่าง Trapezius โดยกล้ามเนื้อสองมัดนี้มีส่วนยึดเกาะที่สะบักโดยตรงด้วย ถ้าเกิดหดรั้งมากเข้าสะบักก็จะบิดตัวผิดไปจากเดิมได้
วิธีทดสอบสะบักลอย
ซึ่งเป็นวิธีการทดสอบได้ด้วยตัวเองว่าเริ่มมีการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ ที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะหรือมีอาการสะบักลอยนั้นเราสามารถทำได้ ดังนี้
- หันหน้าเข้าหากำแพง จากนั้นออกแรงดันกำแพง
- ถ้ากล้ามเนื้อเริ่มมีการอ่อนแรง : จะเห็นขอบสะบักลอยออกมาขณะออกแรงดันกำแพง
การป้องกันและแก้ไขสะบักลอย
ท่ายืดกล้ามเนื้อ เพื่อคลายกล้ามเนื้อที่มีความตึงตัว
ท่าที่ 1 ยืดกล้ามเนื้อหน้าอก ไหล่
- ยืนตัวตรง หันหน้าเข้าขอบกำแพง
- กางแขนข้างที่จะยืดขึ้นประมาณ 120 องศา ข้อศอกงอเล็กน้อย แขนวางราบกับผนัง
- จากนั้นก้าวขาข้างหนึ่งไปด้านหน้าพร้อมกับย่อเข่า ขาหลังเหยียดตรง และบิดลำตัวไปฝั่งตรงข้าม
- ให้รู้สึกตึงบริเวณหน้าไหล่ ทำค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง 5 ครั้ง/รอบ 2 รอบ/วัน
ท่าที่ 2 ยืดกล้ามเนื้อระหว่างสะบัก
- นั่งบนเก้าอี้ครึ่งก้น แยกขาออกเล็กน้อยก้มตัวลง
- ใช้มือซ้ายจับที่ข้อเท้าขวา ใช้มือขวากดข้อศอกซ้ายไว้จนรู้สึกตึงที่บริเวณระหว่างกระดูกสันหลังและกระดูกสะบักซ้าย
- ทำค้างไว้ 15 วินาที/ครั้ง 5 ครั้ง/รอบ 2 รอบ/วัน แล้วสลับข้าง
ท่าออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรง
กล้ามเนื้อที่อยู่รอบสะบักอาจเกิดความอ่อนแรง ทำให้ไม่มีแรงในการคงการเคลื่อนไหวของสะบักได้ การออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อรอบสะบักมีแรงมากขึ้น สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของสะบักได้ดีมากขึ้น
ท่าที่ 1 : ท่าบีบสะบัก
- นั่งหรือยืนตรง ง้อศอก 90 องศา โดยให้แขนทั้งสองข้างแนบกับลำตัว
- จากนั้นออกแรงเกร็งกล้ามเนื้อสะบัก บีบให้เข้าหาแกนกลางลำตัว แล้วปล่อยสะบักให้ห่างจากกันช้าๆ
- ทำสลับกันจนครบ 10 ครั้ง/รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ/วัน
ท่าที่ 2 : กอดคอ กาง-หุบแขน
- เอามือประสานกันที่ท้ายทอย จากนั้นกางแขนออก แล้วสลับหุบแขนเข้า
- ทำสลับกันจนครบ 10 ครั้ง/รอบ ทำทั้งหมด 3 รอบ/วัน
นอกจากการออกกำลังกายแล้วก็ยังมีสิ่งสำคัญอีกอย่างคือพื้นที่ใช้นอนหากเรานอนพื้นที่แข็งหรือนุ่นไปนั้นก็จำทำให้สรีระเราไม่ถูกต้อง วันนี้เราเรามี Topper ยางพารา จาก PATEX ที่ระบายอากาศได้ดีและป้องกันไรฝุ่น สามารถปูนอนได้ทั้งบนเตียงหรือพื้นแข็ง จะทำให้เรานั้นหลับสบาย บรรเทาอาการปวดสะบักได้อีกด้วย