ในปัจจุบันสังคมการทำงานหรือการใช้ชีวิตมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้ใช้ร่างกายทั้งสองฝั่งไม่เท่ากันหรือเกิดความผิดปกติของกระดูกหลัง หากเราปล่อยไว้ก็จะเกิดความเสี่ยงต่อการเป็นกระดูกสันหลังคดได้ ซึ่งเป็นอีกโรคหนึ่งที่ทำให้เรามีอาการปวดหลังได้ โดยสามารถเกิดได้ทุกช่วงวัย วันนี้ทาง PATEX เลยนำความรู้เกี่ยวกับรายละเอียดเกี่ยวกับกระดูกสันหลังคดมาฝากกันครับ
โรคกระดูกสันหลังคด หมายถึง
กระดูกสันหลังมีการผิดรูป เนื่องจากมีการคดออกไปด้านข้างซ้ายหรือข้างขวา ส่งผลให้ไหล่ เอว สะโพกไม่เท่ากัน โดยแนวกระดูกจะโค้งเป็นรูปตัว “C” ซึ่งการคดแบบนี้เป็นการคดหนึ่งตำแหน่ง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเรื้อรังหากอาการรุนแรงขึ้นจะทำให้กระดูกคดเป็นลักษณะตัว “S” ซึ่งเป็นการคด 2 ตำแหน่ง
สาเหตุการเกิดโรคกระดูกสันหลังคด
- การสร้างและการเจริญเติบโตแต่กำเนิด ที่ผิดปกติของกระดูกสันหลังตั้งแต่ก่อนคลอด เนื่องจากความผิดปกติจากพัฒนาการของทารกในครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างกระดูกสันหลังเพียงด้านเดียวหรือการสร้างที่ไม่แยกจากกัน ส่งผลให้เกิดกระดูกสันหลังคดตั้งแต่กำเนิด ซึ่งลักษณะนี้ก่อให้เกิดความผิดปกติมาก ต้องรีบเข้ารักษา
- ความผิดปกติของระบบประสาทกล้ามเนื้อ เป็นกระดูกสันหลังคดที่เกิดจากโรคทางระบบประสาทหรือกล้ามเนื้อที่มีความผิดปกติ เช่น อาการขาดเลือดทางสมองแต่กำเนิด ทำให้เกิดโรคกระดูกสันหลังคดตอนโตได้ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงฝ่อลีบ เป็นต้น
- ความเสื่อมของข้อกระดูก เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยในคนสูงอายุที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด โดยสาเหตุเกิดจากความเสื่อมของข้อกระดูก หรือหมอนรองกระดูกสันหลังซ้ายขวาไม่เท่ากัน ทำให้เกิดการทรุดตัวของข้อกระดูกสันหลังด้านซ้ายขวา
- กระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุ มักเกิดจากการมีความยาวของเข่าไม่เท่ากัน คือ ขาข้างหนึ่งสั้นกว่าอีกข้างหนึ่ง โดยสามารถเกิดขึ้นได้ในวัยต่าง ๆ ได้แก่
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยทารก ก่อนอายุ 3 ปี
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยเด็ก อายุระหว่าง 4 – 10 ปี
- โรคกระดูกสันหลังคดแบบไม่ทราบสาเหตุในวัยรุ่น อายุระหว่าง 10 – 18 ปี พบมากที่สุด
การแบ่งความรุนแรงของภาวะกระดูกสันหลังคดตาม Cobb angle (วัดได้จากภาพ x-ray)
- มีภาวะคดเกิน 25 องศาขึ้นไป ถือเป็นระดับน้อย (Mild scoliosis)
- มีภาวะคด 25-45 องศา ถือเป็นระดับปานกลาง (Moderate scoliosis)
- มีภาวะคดมากกว่า 45 องศาขึ้นไป ถือเป็นระดับรุนแรง (severe scoliosis)
(อาการ) สัญญาณของโรคกระดูกสันหลังคด
- ระดับของหัวไหล่ทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
- สะบักยุบนูนต่างกัน
- ในเด็กผู้หญิง หน้าอกทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ส่วนในเด็กผู้ชายอาจสังเกตได้จากระดับหัวนมไม่เท่ากัน
- สะโพกทั้งสองข้างไม่เท่ากัน
- ตัวเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
- แนวกระดูกสันหลังไม่เป็นเส้นตรง หรือเอียงอย่างเห็นได้ชัด
- มีกระดูกนูนบริเวณหลัง นูนเห็นได้ชัดเมื่อก้มตัวไปด้านหน้า
- มีอาการปวดหลังเรื่อรัง
การป้องกันหรือการรักษาโรคกระดูกสันหลังคด
- การออกกำลังกายแกนกลางลำตัว
- การปรับอิริยาบถพฤติกรรมให้ร่างกายสมดุลกัน
- การทำกายภาพบำบัด
- การใส่อุปกรณ์เสริมหรือชุดเกราะดัด
- หากรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ต้องเข้ารับการผ่าตัด
การป้องกันหรือบรรเทาภาวะกระดูกสันหลังคดที่มอาการปวดหลังร่วมด้วยนั้น บรรเทาได้จากคำแนะนำข้างต้น แต่มีอีกหนึ่งอย่างที่บรรเทาอาการปวดหลังรวมทั้งบรรเทากระดูกสันหลังคดได้อีกด้วย คือที่นอนยางพาราแท้ 100 % ที่มีความยืดหยุ่นและคงทนสูงมาผสมผสานกับเทคโนโลยี 7 BODY ZONE SUPPORT ที่มีการรองรับสรีระร่างกายตามหลักการยศาสตร์ ทำให้ท่านอนเรานั้นถูกต้องลดความเสี่ยงต่อกระดูกสันหลังคดและอาการปวดหลังได้