ปวดกระเบนเหน็บ คืออะไร มาทำความรู้จักไปพร้อมกัน

ปวดกระเบนเหน็บ

อย่างที่เราทราบกันดีว่าอาการปวดหลังนั้นมีหลากหลายแบบ ไม่ว่าจะเป็นปวดจากกล้ามเนื้อ ปวดจากกระดูกหรือหมอนรองกระดูก ก็ต่างส่งผลกระทบการใช้ชีวิตประจำวันเป็นอย่างมาก และการปวดกระเบนเหน็บก็เป็นอีกหนึ่งอาการที่ส่งผลต่อโครงสร้างรอบๆ โดยที่ยังมีอาการคล้ายคลึงกับหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทอีกด้วย ดังนั้นจึงมีความสำคัญในการแยกว่าสาเหตุที่แท้จริงนั้นมาจากไหน ซึ่งวันนี้ทาง PATEX ได้นำความรู้เกี่ยวกับการปวดกระเบนเหน็บ เพื่อให้ทุกคนตระหนักรู้และป้องกันอย่างถูกวิธี

กระเบนเหน็บ คืออะไร แล้วมันอยู่ตรงไหน

กระเบนเหน็บ หรือ sacrum เป็นส่วนหนึ่งของกระดูกสันหลัง ซึ่งเดิมมี 8 ชิ้น แต่จะเชื่อมรวมกันเป็นชิ้นเดียว และจะต่อกับกระดูกเชิงกราน (pelvic bone) โดยจะมีช่องเปิด เพื่อเป็นทางผ่านของเส้นประสาทที่ไปยังบริเวณเชิงกรานและขา ซึ่งกระดูกใต้กระเบนเหน็บเป็นกระดูกสันหลังชิ้นที่ต่อกับกระดูกสันหลังเอว โดยข้อต่อระหว่างกระดูกเอวและกระดูกกระเบนเหน็บเรียกว่า Lumbosacral joint ซึ่งเป็นจุดรองรับน้ำหนักตัวและส่งผ่านน้ำหนักตัวจากลำตัวสู่ขาทั้งสองข้าง จึงเป็นข้อที่ก่อให้เกิดการเคลื่อนและการเสื่อมได้มากที่สุดข้อหนึ่ง โดยอาการปวดหลังช่วงล่างก็อาจเกิดจากส่วนนี้ได้เช่นกัน

ปวดกระเบนเหน็บ SIJ Dysfunction คือ

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของข้อต่อบริเวณเชิงกราน ซึ่งเป็นข้อต่อที่เชื่อมระหว่างกระดูกสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ และกระดูกเชิงกราน ซึ่งมีหน้าที่ในการรองรับน้ำหนักตัวและรับแรงต่อจากขาและสะโพกมีอาการเจ็บปวด เนื่องจากการเคลื่อนไหวผิดปกติ การเสื่อม การยึด ติดรั้ง การเคลื่อนหรือหลวม การอักเสบของเส้นเอ็นที่ยึดข้อเชิงกราน ตลอดจนการวางตัวของแนวกระดูกผิดไปจากเดิมและเกิดการเสียดสีของกระดูกจนเจ็บปวดในขณะเคลื่อนไหว อาการปวดอาจเป็นที่ก้นย้อย ร้าวลงขา ไปถึงปลายเท้า มีอาการชาได้เหมือนกับโรคกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท

สาเหตุและความเสี่ยงต่อการปวดกระเบนเหน็บ

  • เกิดจากการนั่งทำงานหรือขับรถ ในท่าเดิมๆ เป็นเวลานานๆติดต่อกันหลายชั่วโมง
  • บุคคลที่ชอบนั่งไขว่ห้างเป็นประจำซ้ำๆ
  • เคยได้รับอุบัติเหตุบริเวณสะโพกโดยตรง จากการล้มก้นกระแทก หรืออุบัติเหตุทางรถยนต์
  • หญิงตั้งครรภ์หรือเคยผ่านการตั้งครรภ์มาแล้ว เพราะการตั้งครรภ์จะทำให้เกิดอาการปวดบริเวณสะโพกส่วนล่างและกระดูกเชิกกรานหลวมเนื่องจากมีทั้งความแข็งแรงและความอ่อนตัวของกล้ามเนื้อลดน้อยลง
  • ผู้ที่ปวดสะโพกที่มีประวัติข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น รูมาตอยด์ โรคเก๊าท์หรือโรคที่คล้ายคลึงกัน เป็นต้น
  • การเล่นกีฬาที่ต้องใช้แรงเหวี่ยงตัว โดยเฉพาะการใช้บริเวณแขนและขาเป็นประจำ เนื่องจากขาดการอบอุ่นร่างกาย
  • ชอบบิดตัวให้มีเสียงดังกรอบเป็นประจำ ซึ่งอาจมีผลต่อข้อต่อและเส้นเอ็น ซึ่งอาจเกิดการเสื่อมสภาพลงในอนาคต
  • ผู้ที่มีภาวะกระดูกสันหลังคด ( Scoliosis) หรือกระดูกผิดรูป
  • ความยาวขาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ส่งผลให้อุ้มเชิงการทำงานไม่สมดุลกัน

อาการปวดที่บ่งบอกว่าคุณอาจเป็น SIJ disfunction

  • ปวดหลังส่วนล่างหรือตรงข้อต่อสลักเพชรและกระเบนเหน็บ
  • มีอาการปวด ชาหรืออ่อนแรงตามรยางค์ขา เมื่อยง่าย เมื่อเดินระยะทางไกล เดินขึ้นบันไดหรือที่สูง
  • มีอาการปวดบริเวณสะโพก ก้นหรือขาหนีบ
  • อาการปวดเมื่อนอนตะแคงข้างที่มีอาการ รบกวนเวลานอน หาท่านอนที่สบายไม่ได้ ทำให้มีผลต่อการนอนไม่เต็มอิ่ม
  • เมื่อนั่งนานๆมีอาการปวดก้น ต้นขา หาท่านั่งสบายได้ลำบาก ต้องนั่งตะแคงตัว
  • มักจะมีอาการปวดเมื่อมีการเปลี่ยนจากท่านั่งเป็นท่ายืน
  • ปวดบริเวณสะโพกและชาร้าวลงขาที่หาสาเหตุไม่เจอ
  • วิ่งออกกำลังกายหรือเล่นโยคะแล้วยิ่งปวดสะโพกร้าวลงข้างขา
  • ก้มลำบาก รู้สึกเหมือนหลังแข็ง หลังตึง ก้มแล้วปวดเพิ่มขึ้น

การป้องกันและรักษาอาการปวดกระเบนเหน็บ

  • การรักษาด้วยการผ่าตัด : จะเลือกให้เมื่อมีอาการรุนแรงจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้
  • การรักษาแบบไม่ผ่าตัด : การทานยาแก้ปวด ยาคลายกล้ามเนื้อ การทำกายภาพบำบัดรวมถึงการออกกำลังกายสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อและการขยับข้อต่อ

การรักษาแบบไม่ผ่าตัดที่กล่าวมาข้างต้นนั้นแน่นอนว่าสามารถช่วยลดอาการได้แน่นอน แต่ยังมีอีกอย่างที่สามารถช่วยลดและป้องกันอาการปวดกระเบนเหน็บได้ นั้น คือ ที่นอนยางพาราแท้ 100 % ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมาให้รองรับส่วนสรีระร่างกายจึงทำให้เวลานอนน้ำจะกระจายได้ดี ทำให้เวลานอนของเรานั้นไม่มีอาการปวดมากวนใจ

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า