อาการปวดหลัง เป็นอาการที่พบได้บ่อยในคนทุกเพศทุกวัย ไม่เฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น ในปัจจุบันพบมากขึ้นในคนวัยทำงาน ซึ่งหากปวดมากอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันทำให้เกิดอาการปวดหลังเรื้อรัง มักเกิดอาการในขณะที่มีการขยับหลังมาก เช่น การก้ม เงย หรือเดิน หากเราปล่อยปละละเลยเป็นเวลานานๆก็อาจทำให้เราเกิดอาการ กระดูกสันหลังขาดความไม่มั่นคง หรือหลังเคลื่อน หลังหลวมได้ วันนี้ทาง PATEX เลยนำสาระน่ารู้เกี่ยวกับเรื่องนี้มาฝากกันครับ
อาการหลังเคลื่อน หลังหลวม
การขาดความไม่มั่นคงของเอว ( Lumbar Instability ) ทำให้เกิด กระดูกสันหลังเลื่อน เกิดจากกระดูกเอวมีการเลื่อนไปด้านหน้ามากกว่าคนปกติ ทำให้เมื่อเราคลำจากด้านหลัง จะพบว่า “เอว บุ๋ม”
สาเหตุหลังเคลื่อน หลังหลวม
- เกิดขึ้นเองตั้งแต่กำเนิด : มักเจอในกลุ่มที่มีความไม่สมบูรณ์ของกระดูกสันหลัง ทำให้มีข้อต่อบางส่วนที่ไม่สามารถเชื่อมติดกันได้ปกติ
- เกิดจากความเสื่อมสภาพ : เป็นความสี่อมตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และมีความเสื่อมที่เกิดจากการใช้งานในกิจวัตรประจำวัน หรือประกอบอาชีพที่ต้องอยู่ในท่า ยืนนาน ก้มๆเงยๆ ซ้ำๆ เป็นเวลานาน
- เกิดจากอุบัติเหตุ : มักจะเกิดจากอุบัติเหตุที่รุนแรงร่วมกับการมีการบาดเจ็บของไขสันหลังร่วมด้วย
อาการหลังเคลื่อน หลังหลวม
โดยมีอาการหลักๆของกระดูกสันหลังเคลื่อนมีดังต่อไปนี้
- ปวดหลังส่วนล่างอาการปวดหลังเรื่อรัง
- อาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อยืนนาน เดินไกล นั่งนาน หรือก้มตัวลงไปเก็บของ
- ปวดหลังร้าวลงก้นหรือต้นขา
- ปวดหลังชา หรือเสียวแปล็บเหมือนไฟช็อต ร้าวลงขาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
- หากเส้นประสาทถูกกดทับนานจะทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรง รวมถึงระบบขับถ่ายมีปัญหา
ระดับความรุนแรงของกระดูกสันหลังเคลื่อน หลังหลวม
- ระดับที่ 1 กระดูกสันหลังเคลื่อนไม่เกิน 25%
- ระดับที่ 2 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 26-50%
- ระดับที่ 3 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 51-75 %
- ระดับที่ 4 กระดูกสันหลังเคลื่อนตั้งแต่ 76-100 %
การรักษากระดูกสันหลังเคลื่อน หลังหลวม
นั้นสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่
1.รักษาโดยไม่ต้องผ่าตัด
การรักษาไม่ได้ว่าจะผ่าตัดในทุกราย โดยจะขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงในการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง รักษาโดยไม่ผ่าตัดได้ดังนี้
- หลีกเลี่ยงพฤติกรรมไม่เหมาะสม ที่ส่งผลทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนเพิ่ม เช่นท่างมๆเงยๆ การยกของหนัก
- ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินค่ามาตรฐาน
- ใช้ยาแก้ปวดในกลุ่ม NSAIDs ตามแพทย์สั่ง
- ฉีดยาระงับการอักเสบที่โพรงเส้นประสาทไขสันหลัง
- ทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลาง
- ใส่สายรัดเอว หรือ Lumbar support
2.รักษาด้วยการผ่าตัด
จะขึ้นอยู่กับอาการและระดับความรุนแรงในการเคลื่อนตัวของกระดูกสันหลัง
การป้องกันโรคกระดูกสันหลังเคลื่อน หลังหลวม
- วอร์มร่างกายและยืดกล้ามเนื้อให้พร้อมก่อนออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา
- ออกกำลังการเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว
- จำกัดเวลาในการเล่นกีฬาที่เพิ่มแรงตึงให้กับกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะกีฬาที่ต้องใช้การบิดตัวมากๆ เช่น กอล์ฟ เทนนิส ยิมนาสติก หรือยกน้ำหนักเพราะอาจเสี่ยงเกิดกระดูกสันหลังเคลื่อนได้
- ไม่หักโหมเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายมากเกินไป
- ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ ในเกณฑ์สุขภาพดี
- เลือกที่นอนที่รองรับสรีระร่างกายตามหลักการยศาสตร์
อย่างที่เราได้กล่าวมาข้างต้นว่าหลังเคลื่อน หลังหลวมนั้น มาจากหลากหลายสาเหตุ มีอาการหรือระดับรุนแรงที่ต่างกัน อีกทั้งยังมีการรักษาและป้องกันมากมายไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย การปรับพฤติกรรม แต่กระทั้งการนอน เราเลยแนะนำเป็นที่นอนยางพาราแท้ 100 % จาก PATEX ทีมีคุณสมบัติระบายอากาศ ป้องกันฝุ่น ลดแรงสั่นสะเทือน อีกทั้งยังมีเทคโนโลยี 7 BODY ZONE SUPPORT ที่รองรับร่างกายตามหลักการยศาสตร์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดหลังและลดความเสี่ยงในการเกิดหลังเคลื่อน หลังหลวมได้อีกด้วย