หลายๆคนยังคงมีความเข้าใจผิดว่าเวลาที่เรามีอาการปวดสะโพกหรือก้นแล้วร้าวลงขาจะเป็นมาจากโรคหมอนกระดูกทับเส้นประสาท แต่ยังคงมีอีกหนึ่งโรคที่สามารถก่อให้เกิดอาการเหล่านี้ได้เช่นกัน และหลายคนอาจยังไม่เคยได้ยินชื่อหรือบางคนอาจได้ยินผ่านๆมาบ้าง แต่ในความเป็นจริงมีคนจำนวนไม่น้อยที่ตรวจพบโรคนี้จากอาการดังกล่าว ที่เรียกว่า “สลักเพชรจม” นั่นเอง วันนี้ทาง PATEX เลยมีสาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคนี้มาฝากเพื่อให้ทำความเข้าใจกับโรคนี้ได้มากขึ้นครับ
สลักเพชร คือ อะไร
สลักเพชร หรือกล้ามเนื้อสะโพก Piriformis Muscle เป็นกล้ามเนื้อขนาดเล็กที่อยู่บริเวณก้นกับสะโพก ลักษณะของกล้ามเนื้อจะแบนเกาะเชื่อมระหว่างขอบกระดูกเชิงกรานกับกระเบนเหน็บ มีหน้าที่ช่วยให้ต้นขาสามารถเคลื่อนไหวไปในทิศทางต่าง ๆ ได้
โรคสลักเพชรจม คือ
ภาวะกล้ามเนื้อสะโพกหนีบเส้นประสาท หรือ piriformis syndrome เกิดความผิดปกติจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก (piriformis) มีความตึงตัว หดเกร็ง จากการใช้งานหรือแรงกระแทกจนไปกดเส้นเส้นประสาท Sciatic ทำให้ปวดลึกบริเวณสะโพกร้าวมลงขาด้านหลังหรืออาจมีอาการชาร่วมด้วย
สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดสลักเพชรจม
- การนั่งอยู่ในอิริยาบถเดิม ๆ เป็นเวลานาน ๆ เช่น การนั่งทำงานเป็นเวลานานโดยไม่เปลี่ยนท่าทาง การนั่งขับรถติดต่อกันหลาย ๆ ชั่วโมง คุณแม่หลังคลอดที่ต้องนั่งให้นมบุตรเป็นเวลานานๆ เป็นต้น
- การเคลื่อนไหวร่างกายส่วนล่างอย่างสะโพกและต้นขาผิดท่า เช่น การยกของ การเล่นกีฬา
- การใช้งานกล้ามเนื้อ Piriformis ที่หนักจนเกินไป เช่น เล่นกีฬาหนักเกินไป การวิ่งและเดินเป็นเวลานาน
- กล้ามเนื้อ Piriformis ขาดความแข็งแรง จากการขาดการออกกำลังกาย
- ไม่วอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายและไม่คูลดาวน์หลังออกกำลังกาย
- เกิดอาการบาดเจ็บบริเวณก้นหรือสะโพก เช่น ลื่นล้ม ตกบันได อุบัติเหตุทางรถยนต์ เป็นต้น
- การนอนเตียงที่แน่นหรือนุ่นจนเกินไปทำให้เกิดการผิดสรีระการนอน
อาการของสลักเพชรจม
- อาการปวดลึก ๆ ที่บริเวณก้นกบหรือกล้ามเนื้อก้นหรือสะโพก และอาจมีอาการชาร้าวลงขาได้
- สามารถคลำเจอจุดก้นกบที่กล้ามเนื้อก้นมัดลึกได้
- มักจะมีอาการปวดมากขึ้นเมื่อกล้ามเนื้อ Piriformis หดเกร็งจากการใช้งานมาก ๆ เช่น นั่งติดกันเป็นเวลานาน เดินนาน เป็นต้น
- มีอาการปวดเพิ่มมากขึ้นเมื่อยืดกล้ามเนื้อก้น
- มีการเคลื่อนไหวช่วงบริเวณสะโพกได้น้อยลง
- ปวดสะโพกหรือก้นเวลาลุกหลังจากตื่นนอน
- ปวดเมื่อนั่ง ยืน หรือ นอนตะแคง นานมากกว่า 15 – 20 นาที
- อาการดีขึ้น เมื่อเปลี่ยนท่าทาง เช่น จากนั่งไปยืน จากยืนเป็นเดิน เป็นต้น
การดูแลป้องกันและบรรเทาสลักเพชรจม
- ประคบร้อน บริเวณก้นที่เราปวด ความร้อนจะช่วยทำให้กล้ามเนื้อโดยรอบผ่อนคลาย และยังยับยั้งอาการปวดได้อีกด้วย โดยประคบประมาณ 15- 20 นาที
- ออกกำลังกายเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อสลักเพชรด้วยการออกกำลังกาย โดยเน้นช่วงสะโพก ก้น และเอว
- การปรับพฤติกรรมในการทำงาน เราควรปรับเปลี่ยนอิริยาบถในการทำงานทุก ๆ 1-2 ชั่วโมง ให้ร่างกายได้ขยับ และเป็นการเพิ่มการไหลเวียนของกล้ามเนื้อได้นั่นเอง
การรักษาทางการแพทย์ในผู้ที่สลักเพชรจม
- การใช้ยาบรรเทาอาการปวด แพทย์มักจะให้ยารับประทาน เช่น ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) ยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อ
- การทำกายภาพบำบัด โดยการทำกายภาพบำบัดจะช่วยฟื้นฟูกล้ามเนื้อสลักเพชรให้มีความยืดหยุ่น แข็งแรงขึ้น ลดอาการเจ็บปวดได้ดี เช่น การยืดการนวด การใช้เครื่อมือไฟฟ้า เป็นต้น
- การฉีดสเตียรอยด์ สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการปวดรุนแรง หรือเคยรับการรักษาแบบประคับประคองแต่อาการไม่ดีขึ้น แพทย์อาจรักษาฉีดสเตียรอยด์ เพื่อให้กล้ามเนื้อสลักเพชรคลายตัว
- การผ่าตัด หากการรักษาด้วยวิธีข้างต้นไม่ได้ผล แพทย์ก็จะพิจารณารักษาด้วยการผ่าตัดโดยเอาเนื้อเยื่อแผลเป็นหรือกล้ามเนื้อที่กดทันเส้นประสาทออก แต่โดยส่วนมากมักไม่นิยมใช้การผ่าตัดในการรักษาสลักเพชรจม เว้นแต่ผ่านการรักษาทุกวิธีแล้วไม่ได้ผล
นอกจากการป้องกันและรักษาที่กล่าวมาแล้วนั้น ยังมีอีกหนึ่งอย่างที่ช่วยป้องกันและบรรเทาอาการปวดสะโพกหรือสลักเพชรจม (piriformis syndrome) ได้นั้นก็คือ ที่นอนยางพาราแท้ 100% จาก PATEX ที่มีความนุ่นแน่นที่พอดีรองรับสรีระร่างกายได้ทุกประเภททำให้เรานอนได้อย่างถูกต้องตามหลังการยศาสตร์ เมื่อเรานอนได้สบายจะช่วยลดความเครียด ที่ส่งผลต่อกล้ามเนื้อและแรงกดต่อสะโพกที่เป็นปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรค ทำให้เราห่างไกลจากการเป็น สลักเพชรจม นั้นเอง