เราต้องยอมรับเลยว่าอาการปวดหลังในสังคมปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่เราสามารถพบเจอได้บ่อยมากขึ้นกับทุกเพศ ทุกวัยโดยเฉพาะกับกลุ่มคนวัยทำงาน เนื่องจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต หรือ การทำงาน ในท่าทางที่ไม่ถูกต้องหรืออยู่ในท่าเดิม ซ้ำๆ นานๆ และปล่อยประละเลย ไม่มีการแก้ไขปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเลยทำให้มีอาการสะสมมาเรื่อยๆจนเกิดการบาดเจ็บในที่สุด วันนี้ทาง PATEX จะพาไปดูว่าพฤติกรรมใดบ้างที่เสี่ยงต่อการปวดหลังและมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างไรบ้างที่ควรทำ
1. การนั่งนานๆหรือนั่งผิดท่า
อาการปวดหลังส่วนใหญ่ เริ่มมาจากการนั่งทำงานนาน ๆ จนเคยชิน หรือชอบนั่งไม่เต็มก้นบนเก้าอี้ต้องระวัง เพราะกล้ามเนื้อหลังจะทำงานหนักมากขึ้นในการแบกรับน้ำหนักตัว จนทำให้กล้ามเนื้อเกิดการอ่อนล้า หรือการเกร็งได้ จึงอาจก่อให้มีอาการปวดตั้งแต่ต้นคอ สะบัก กลางหลัง ปวดหลังส่วนล่าง คือปวดบริเวณเอว จนถึงสะโพกได้ ซึ่งก็จะเป็นปัญหาที่พบบ่อยที่สุดในชีวิตประจำวัน
วิธีการปรับ
- ไม่ควรนั่งกับพื้น ในท่าขัดสมาธิ คุกเข่า พับเพียบ เพราะนั่งกับพื้นทำให้น้ำหนักส่วนใหญ่ไปลงที่กระดูกสันหลังบริเวณเอว ทำให้รับน้ำหนักมากและทำให้ปวดเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้การนั่งพื้นในท่าข้างต้น เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคข้อเข่าเสื่อม
- หลีกเลี่ยงการนั่งเก้าอี้ต่ำ เพราะการนั่งเก้าอี้ต่ำๆ คล้ายกับการนั่งพื้น ทำให้มีอาการปวดมากขึ้น เช่น การนั่งซักผ้าเป็นระยะเวลานาน การนั่งปลูกดอกไม้ ทำสวนเป็นระยะเวลานาน
- ควรนั่งเก้าอี้มีพนักพิง นั่งให้ชิดขอบในของเก้าอี้ โดยหลังไม่โก่งและให้หลังชิดพนักพิง ระดับความสูงของเก้าอี้นั่งให้เท้าแตะพื้น รองรับก้นและโคนขาทั้งหมด
- ส่วนการนั่งทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์
- นั่งหลังตรง เพื่อลดอาการตึงที่ช่วงหลัง วางเท้าให้ราบไปกับพื้น
- ปรับระดับหน้าจอให้อยู่ตรงหน้าพอดี ให้สายตามองตรงไปด้านหน้า ไม่เงย ไม่ก้ม จะช่วยลดอาการตึง หรือเมื่อยล้าบริเวณกล้ามเนื้อช่วงคอและไหล่ได้
- ช่วงแขนที่ใช้งานพิมพ์คีย์บอร์ดให้เก็บศอกใกล้ตัว เพื่อช่วยผ่อนคลายหัวไหล่และแขน ลดอาการตึงและ เมื่อยล้าจากงานได้ ที่สำคัญควรลุกเปลี่ยนท่าทาง ยืดเส้นยืดสายทุกๆ 30-45 นาที
2. การยืนนานๆ หรือ ยืนพักขาข้างเดียว
อาชีพที่ต้องยืนนาน ๆ อย่างพนักงานขาย ทำอาหาร ช่างตัดผม คนที่ทำงานโรงงาน ที่ต้องยืนเป็นเวลานาน ๆ บางคนที่ต้องยืนทุกวัน วันละหลายชั่วโมง ซึ่งคนกลุ่มนี้จะใช้งานหลังส่วนล่างมาก กล้ามเนื้อจะเกิดการเกร็งจากการยืนนานตลอดเวลา หรือในการยืนในท่าพักขานั้นเราต้องระวัง เพราะถึงเป็นท่าที่สบาย แต่การยืนพักขานั้นเป็นการทิ้งน้ำหนักไปด้านใด ด้านหนึ่งทำให้ร่างกายแบกรับน้ำหนักอยู่ด้านเดียว สะโพกก็จะเอียง กระดูกสันหลังก็โค้งตามไปด้วย ทำให้มีอาการปวดหลังเรื้อรัง เวลาปวดหลัง จะมีความรู้สึกปวดบริเวณเอว
วิธีการปรับ
ควรเปลี่ยนท่าทางบ้าง อย่าอยู่ในท่าเดิม ๆ ตลอดเวลา ถ้าสามารถมีเวลาที่จะนั่งได้ ให้นั่งบ้างเพื่อผ่อนคลายอาการเกร็งของหลัง หรือใช้เก้าอี้กึ่งนั่งกึ่งยืนจะช่วยลดการทำงานของกล้ามเนื้อได้บ้าง บางส่วน
3. การเอี่ยวตัวไปเก็บหรือหยิบของ
ถ้าทำโดยไม่ระมัดระวัง หรือเอี้ยวแรงและเร็วเกินไป ก็อาจจะเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เราปวดหลังได้ เพราะจะต้องมีการบิดตัว ในขณะที่ร่างกายยังไม่พร้อม ถ้าเราไม่เปลี่ยนพฤติกรรมก็จะเสี่ยงต่อหมอนรองกระดูกปลิ้นอีกด้วย
วิธีการปรับ
ไม่ควรเอี้ยวตัวหยิบของ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในท่าที่ไม่เหมาะสม หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ อย่าเอี้ยวตัวแบบทันที หรือเร็วเกินไป ควรหันหรือหมุนไปทั้งตัวไม่ควรแยกส่วน
4. การนอนตัดขด หรือ ที่นอนไม่เหมาะสม
เวลานอนถือเป็นช่วงที่ร่างกายพักผ่อนแบบเต็มที่ กล้ามเนื้อทุกส่วนจะต้องสบาย ซึ่งหากนอนท่าไหนนาน ๆ ตลอดทั้งคืน อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพได้ โดยเฉพาะการนอนขดตัว เพราะจะทำให้กระดูกงอโค้ง กล้ามเนื้อบางส่วนเกร็งไม่ได้พักผ่อนบวกกับ ที่นอนหรือเตียงนอนที่มีความแน่นหรือนุ่มจนเกินไป ส่งผลให้กล้ามเนื้อ กระดูกโดยเฉพาะกระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะคดงอนานๆ ไม่รับตามสรีระร่างกาย ทำให้ปวดเมื่อยตัวและปวดหลังเมื่อตื่น
วิธีการปรับ
- ไม่ควรนอนคว่ำ เพราะจะทำให้กระดูกสันหลังแอ่นมากที่สุด โดยเฉพาะระดับเอวทำให้ปวดหลังได้ (ยกเว้นมีอาการหมอนรองกระดูกปลิ้นทับเส้นประสาท แนะนำ)
- ควรนอนตะแคงโดยให้ขาล่างเหยียดตรง เข่างอ ตะโพกและเข่ากอดหมอนข้างไว้
- ไม่ควรใช้ฟูก ฟองน้ำหรือเตียงสปริง เพราะหลังจะจมอยู่ในแอ่งทำให้กระดูกสันหลังแอ่น
- ที่นอนไม่ควรใช้เตียงนอนที่แน่นหรือนุ่มจนเกินไป ควรเป็นที่ยางพาราที่เหมาะสมกับสรีระร่างกายตามหลักการยศาสตร์
อาการปวดหลังของคนเรานั้นมาได้จากหลากหลายสาเหตุ และสาเหตุที่สำคัญอีกอย่างคือพฤติกรรมตามที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นสิ่งที่พบเจอได้บ่อย เราสามารถลดการเกิดอาการปวดหลังได้ตามคำแนะนำคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่กล่าวมา และอีกอย่างที่มีความสำคัญคือ ที่นอนเราแนะนำเป็นที่นอนยางพาราแท้ 100% ที่มีคุณภาพสูง มีความยืดหยุ่นสูง ไม่ยุบตัว มีระบบรองรับ 7 Body Zone Support รับรองว่าหากใครได้ใช้แล้วจะป้องกันการเกิดอาการปวดหลังได้