ในปัจจุบันพบว่าปัญหาความผิดปกติ ที่เกี่ยวข้องกับระบบกระดูกและกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในวัยคนหนุ่มสาวหรือพนักงานออฟฟิศ อันเกิดมาจากพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นท่ายืนหรือท่านั่ง โดยการนั่งนานทำให้ร่างกายใช้กล้ามเนื้อ และแรงไปลงที่กระดูกสันหลังสูงกว่าท่ายืน และวันนี้ทาง PATEX มีท่านั่งที่เราควรระวัง หลีกเลี่ยง และป้องกัน เพื่อให้คุณลดการเสี่ยงในการบาดเจ็บ
1.การนั่งหลังคอม
เกิดจากการนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์นาน และมีการโน้มตัวไปด้านหน้านานๆจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้าง ซึ่งจะก่อให้เกิดการคั่งของกรดแลคติก ส่งผลให้เกิดอาการปวดเมื่อยที่บริเวณคอ บ่า ไหล่ หลังจนถึงสะโพก และยังทำให้กระดูกส่วนคอรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นจากเกิด โดยอาจทำให้เกิดการผิดรูปของกระดูกได้
2.การนั่งไขว่ห้าง
ทำให้เกิดการกดทับน้ำหนักตัวลงที่ก้นข้างใดข้างหนึ่ง เป็นผลให้กระดูกสันหลังและกระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักทั้งสองข้างไม่เท่ากันจนทำให้มีอาการปวดคอและหลังได้ และถ้าหากนั่งในท่านี้ซ้ำๆติดต่อกันเป็นเวลานานๆ ก็อาจเสี่ยงต่อการเกิดหมอนรองกระดูกปลิ้นและกระดูกสันหลังคดได้ หากไม่ปรับเป็นพฤติกรรม
3.การนั่งขัดสมาธิ
ทำให้เกิดการเหน็บชา ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงส่วนขาได้ลำบาก ยิ่งคนที่น้ำหนักตัวเยอะหรือมีปัญหาเกี่ยวกับเข่า ก็จะยิ่งทำให้เกิดอาการเข่าเสื่อมเพิ่มขึ้นด้วย
4.การนั่งกอดอก
จะทำให้กระดูกหลังช่วงสะบักและหัวไหล่ด้านหลังยืดออก ส่งผลให้หลังช่วงบนและไหล่งองุ้ม และกระดูกช่วงคอยื่นไปข้างหน้ามีผลต่อการทำงานของเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงบริเวณแขน เป็นเหตุให้กล้ามเนื้อมือชาหรืออ่อนแรง หากกระดูกช่วงคอเกิดการผิดรูป ก็จะทำให้กล้ามเนื้อคอหดเกร็ง และส่งผลเสียต่อการทำงานของหลอดเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมอง อาจนำไปสู่อาการปวดศีรษะเรื้อรังหรือไมเกรนได้
5.นั่งบนเก้าอี้โดยไม่พิงพนักหรือนั่งไม่เต็มก้น
การนั่งในท่านี้ ทำให้ฐานในการรับน้ำหนักตัว น้อยกว่าที่ควรจะเป็น ส่งผลให้กล้ามเนื้อที่หลังทำงานหนักกว่าปกติ ก้นรองรับน้ำหนักไม่เต็มที่ และเกิดเป็นผลเสียต่อกระดูกสันหลังเพราะมีแรงกดต่อกระดูก ควรนั่งให้เต็มก้น และเอนหลังพิงพนัก เพื่อให้ร่างกายถ่ายน้ำหนักบางส่วนไปที่เก้าอี้ แทนที่จะทรงตัวด้วยกระดูกสันหลังเท่านั้น
6.นั่งพื้นแข็ง
กระดูกก้นกบไม่สามารถเคลื่อนไหวได้อิสระเหมือนกระดูกสันหลัง เป็นลักษณะข้อกระดูกที่ยึดติดกันแน่น มีความมั่นคงแข็งแรงสูง แต่ถ้าปวดมักเกิดจากแรงที่มากระทำจากภายนอก หากเรานั่งบนพื้นที่แข็งเป็นประจำ จะทำให้กระดูกก้นกบเกิดแรงกดมากเกินไปจนเกิดอาการปวดได้
โดยการแก้ไขที่ควรปฏิบัติตามและถูกต้องคือ ท่านั่งที่ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์และไม่นั่งเก้าอี้นานจนเกินไป ต้องหาเวลาพักหรือเปลี่ยนท่าทางบ้างในช่วง 35 – 45 นาที
ท่านั่งที่ป้องกันและแก้ไขอาการ Office Syndrome
- นั่งเต็มเบาะ ทิ้งน้ำหนักสมดุล หลังตรงชิดติดพนักพิง
- คอตรง มองไปข้างหน้า
- แขนแนบชิดติดลำตัว และข้อศอกทำมุม 90 องศา
- ข้อเข่าทำมุม 90 องศา โดยที่ข้อพับเท่าห่างจากเบาะ 1-2 นิ้ว
- เท้าวางแนบกับพื้น
และอีกหนึ่งไอเท็มที่มีประโยชน์มากมายไม่ว่าจะเป็นการนอนหรือท่านั่งอย่างท็อปเปอร์ยางพารา เป็นตัวเลือกในการ แก้ปวดหลัง โดย ท็อปเปอร์ยางพารา ที่มาแรงและครองใจคนไทยมากที่สุดในตอนนี้ ซึ่งมีการพัฒนาจนได้เป็นเทคโนโลยี 7 BODY ZONE SUPPORT เพิ่มเข้ามา ซึ่งเน้นเรื่องการช่วยกระจายน้ำหนัก รองรับสรีระร่างกายได้ทั้งหมด และท็อปเปอร์ยางพาราไม่ใช่ว่าจะเป็นสิ่งของที่ไว้นอนเพียงอย่างเดียว เราสามารถนำไปประยุกต์เป็นเสื่อออกกำลังกายแทนเสื่อโยคะหรือ ที่รองนั่งพัก หรือโซฟาตามแบบที่เราต้องการได้อีกด้วย