เท้าแบน ปัญหาที่ใครหลายคนมองข้าม แต่เป็นอีกหนึ่งปัญหาส่งผลกวนใจในชีวิตประจำวัน ทำให้ชีวิตไม่มีความสุข โดยเฉพาะคนที่ชอบออกกำลังกายเล่นกีฬาหรือต้องเดินเยอะๆ เพราะเมื่อมีการใช้งานฝ่าเท้ามาก ก็จะเกิดความรู้สึกเจ็บและหลายคนอาจละเลยหรือไม่สนใจจนอาการปวดเริ่มแย่ลงและส่งผลต่อส่วนอื่นๆของร่างกายไม่ว่าจะเป็นหลัง สะโพก หรือเข่า ล้วนมีความสัมพันธ์กันทั้งสิ้น
เท้าแบน คือ
ภาวะผิดปกติที่บริเวณอุ้งเท้าบริเวณกลางเท้าสูญเสียความสูงไปหรือแบนติดพื้น หรือเท้าที่ไม่มีส่วนโค้งเว้าตรงกลางเท้า เมื่อลุกขึ้นยืน ฝ่าเท้าจะราบแนบไปกับพื้นทั้งหมดหรือในบางคนอาจจะมีอุ้งเท้าเตี้ยมากกว่าปกติจนแทบมองไม่เห็นส่วนที่โค้งเว้า นั่นหมายความว่าคุณอาจมีภาวะเท้าแบน ภาวะดังกล่าวทำให้กลไกการทำงานของเท้าและข้อเท้าสูญเสียไป ส่งผลให้เกิดความเจ็บปวดและอาจนำไปสู่ความผิดรูปของข้อเท้าและนิ้วเท้าตามมาได้
ชนิดของเท้าแบน
โดยภาวะของเท้าแบนนั้นแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
1.ภาวะเท้าแบนแต่กำเนิด
โดยแบ่งเป็น 2 แบบย่อย
- เท้าแบนแบบนิ่ม เป็นภาวะที่พบบ่อยในเด็ก ซึ่งอาจเกิดจากลักษณะที่อุ้งเท้ามีเนื้อเยื่ออ่อนหรือไขมันสะสมมาก เมื่อยืน ฝ่าเท้าจะราบไปกับพื้นทั้งหมด แต่เมื่อยกเท้าขึ้นมาจะเห็นช่องโค้งของฝ่าเท้า เท้าแบนแบบนิ่มไม่ก่อให้เกิดอาการเจ็บปวด
- เท้าแบนแบบเข็ง เป็นภาวะที่พบได้น้อย ด้านในของเท้าจะโค้งนูนออกมาตลอดเวลา มีอาการเจ็บปวดเมื่อยืนหรือเดินๆ รูปร่างเท้าผิดรูปและมีปัญหาการใส่รองเท้า
2.ภาวะเท้าแบนที่เกิดขึ้นภายหลัง
โดยเท้าในลักษณะนี้พบได้ในผู้ใหญ่อายุมากหรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวเยอะ ที่ค่อยๆสูญเสียความสูงของอุ้งเท้าที่เกิดจากโรคหรือปัจจัยอื่นๆ เช่น เอ็นข้อเท้าหย่อนยาน ป่วยเป็นโรคข้อรูมาตอยด์ ข้อเท้าเสื่อม หรือกระดูกสันหลังกดทับเส้นประสาทขาซึ่งส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนกำลัง
อาการของเท้าแบน
- เจ็บอุ้งเท้าและส้นเท้า แม้สวมใส่รองเท้าที่รองรับเท้าได้ดีและนุ่มสบายแล้ว
- ฝ่าเท้าด้านในบวมขึ้น มีการอักเสบบวมแดงตามเส้นเอ็นรอบ ๆ ข้อเท้า
- ทรงตัวลำบาก ยืนเขย่งขาไม่ได้ หรือเดินขึ้นลงบันไดลำบาก
- ไม่สามารถสวมใส่รองเท้าที่เคยใส่ได้ หรือรู้สึกอุ้งเท้าแบนมากยิ่งขึ้น
- รู้สึกชาฝ่าเท้า หรือเส้นเอ็นนิ้วเท้าอ่อนแรงหรือผิดรูปมากขึ้น
การดูแลเท้าแบน
- ไม่ใส่รองเท้าส้นสูง
- ไม่เดินเท้าเปล่า
- ใช้แผ่นเสริมรองเท้าสุขภาพ ช่วยเพิ่มอุ้งเท้า ไม่ทำให้เท้าแบน หรือสั่งตัดรองเท้าสุขภาพ
การออกกำลังกายเท้าแบน
1.การใช้ผ้าขนหนู
- นั่งบนเก้าอี้แล้ววางผ้าขนหนูใต้ฝ่าเท้า
- ใช้นิ้วเท้าของคุณจับผ้าขนหนู ส้นเท้าของคุณควรวางลงติดกับพื้น
- งอและจิกนิ้วเท้าของคุณและค่อยๆดึงผ้าเช็ดตัวมาหาคุณ
- ทำ 10 – 15 ครั้ง/เซต ทำ 3 เซต
2.การกลิ้งลูกบอล
- นั่งบนเก้าอี้ กระดูกสันหลังตรง วางลูกเทนนิสไว้ใต้ฝ่าเท้าของคุณ
- เริ่มกลิ้งลูกบอลไปมา อย่าลืมรักษาระดับหลังให้ตรงไว้
- ทำท่านี้ประมาณ 2-3 นาที ทำซ้ำทั้ง 2 ข้าง
3.การยืดเหยียดกล้ามเนื้อน่อง
- ยืนหน้าผนังและวางมือทั้งสองไว้บนผนัง
- เหยียดขาข้างหนึ่งไปข้างหลังโดยให้เข่าเหยียดตรงและนิ้วเท้าชี้ไปข้างหน้า
- วางส้นเท้าบนพื้น เริ่มเอนตัวไปข้างหน้าเข้าหาผนังจนกว่ารู้สึกตึงที่น่อง
- เกร็งค้างในท่านี้เป็นเวลา 30 ถึง 60 วินาที
- ทำท่านี้ซ้ำ 4 ครั้งในขาแต่ละข้าง
4.การเสริมกำลังกล้ามเนื้ออุ้งเท้าของคุณ
- นั่งลงบนเก้าอี้ ไขว้เท้าของคุณไว้บนต้นขาด้านตรงข้าม
- พันแถบยางยืดรอบเท้า
- ยกเท้าขึ้นด้วยมือ
- จากนั้นค่อยๆลดระดับเท้าลงไปที่ตำแหน่งเริ่มต้น
- ทำ 10 – 15 ครั้ง/เซต ทำ 3 เซต
เท้าแบนกับอาการปวดหลัง
การที่เกิดเท้าแบนข้างใดข้างหนึ่งนั้น จะทำให้เกิดความสูงต่ำของขาไม่เท่ากัน ผลที่ตามมาก็ทำให้เกิดปัญหากระดูกเชิงกรานระหว่างข้างซ้ายและขวาไม่เท่ากัน กระดูกส่วนหลังเกิดคดงอ พอโครงสร้างกระดูกผิดปกติไป กล้ามเนื้อทั้ง 2 ฝั่งระหว่างซ้ายขวาก็ไม่สมดุลกัน โดยข้างหนึ่งอาจจะตึงไป อีกข้างก็หย่อนเกินไป ระยะแรกก็จะรู้สึกเมื่อยๆตึงๆธรรมดา แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไปก็จะเริ่มมีอาการปวดขึ้นตั้งแต่ขาจนถึงหลังได้ในที่สุด
จะเห็นได้ว่าอาการเท้าแบนนั้นเป็นสิ่งเล็กๆที่มีปัญหาใหญ่โตได้ อย่างอาการปวดหลังก็เป็นหนึ่งในสาเหตุที่เกิดจากเท้าแบบ โดยอาการปวดหลังเราสามารถบรรเทาได้ด้วยการออกกำลังกายและหาที่นอนที่รองรับสรีระร่างกายที่ดี อย่างที่นอนยางพาราแท้ 100% จาก PATEX นั้นก็จะช่วยลดและบรรเทาอาการปวดหลังได้ในระดับหนึ่งโดยที่ไม่รบกวนชีวิตประจำวัน และลดการเสื่อมของร่างกายได้อีกด้วย