ภาวะของโรคกระดูกสันหลังที่เกิดจากภาวะกระดูกพรุน ถือเป็นภัยเงียบที่ร้ายอย่างหนึ่ง ที่ไม่ได้มีอาการที่เด่นชัด เราอาจรู้ตัวอีกที ตอนที่เราประสบอุบัติเหตุเกิดขึ้น เช่น ลื่นล้มจนทำให้เกิดกระดูกสันหลังหัก ทำให้มีอาการปวดรุนแรงหรือในบางรายกระดูกสันหลังพรุนจนทรุดตัวเป็นเหตุให้หลังทรุด หลังค่อม หรือคด ทำให้ร่างกายเสียสมดุลขณะยืนหรือเดิน และมีอาการปวดหลังเรื้อรังได้ในที่สุด
โรคกระดูกพรุน
คือโรคที่ความหนาแน่นและมวลกระดูกตลอดจนความแข็งแรงของกระดูกลดน้อยลง ทำให้กระดูกเสื่อม เปราะบาง ปิดรูป และมีความเสี่ยงต่อการหักได้ง่ายขึ้น โดยอันตรายของโรคนี้ ถ้าเป็นปกติโดยทั่วไปเดินหกล้มบนพื้นราบธรรมดา เราไม่เป็นอะไร อย่างมากเราอาจจะข้อเท้าพลิก เจ็บมือนิดหน่อย แต่ในโรคกระดูกพรุนถ้าเราลื้นล้มก็อาจจะทำให้เกิดกระดูกหักได้ มือยันพื้น ข้อมือหัก สะโพกกระแทกพื้น สะโพกหัก นี่คือความอันตรายของโรคกระดูกพรุน
ปัจจัยเสี่ยงกระดูกพรุน
- อายุ มวลกระดูกของคนเราหนาแน่นที่สุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี หลังจากนั้นจะค่อย ๆ ลดลงตามลำดับ
- กรรมพันธุ์ มีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคกระดูกพรุน
- การใช้ยาบางชนิดที่ออกฤทธิ์รบกวนกระบวนการสร้างกระดูก เช่น กลุ่มยาสเตียรอยด์ ยาทดแทนธัยรอยด์ ยาป้องกันการชัก เป็นต้น
- ดื่มแอลกอฮอล์ เบียร์ หรือไวน์ในปริมาณมากกว่า 3 แก้ว/วัน มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนเร็วขึ้น
- บุหรี่ สารพิษนิโคตินเป็นตัวทำลายเซลล์สร้างมวลกระดูกทำให้กระดูกบางลง หากสูบบุหรี่มากกว่า 20 มวน/วัน ความเสี่ยงต่อกระดูกสะโพกหักสูงขึ้น 1.5 เท่าของคนไม่สูบบุหรี่
- ขาดสารอาหาร การรับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ นอกจากทำให้ร่างกายเสียสมดุลแล้วยังอาจขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างมวลกระดูก โดยเฉพาะแคลเซียม วิตามินดี และโปรตีน
- ขาดการออกกำลังกาย มีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนมากกว่า
- การทานโซเดียมหรือเกลือมากเกินไป ร่างกายจะต้องขับเกลือส่วนเกินออกทางปัสสาวะ และจะขับแคลเซียมออกมาด้วย ทำให้มีการสูญเสียแคลเซียมไปทางปัสสาวะมากขึ้น
- คนที่เป็นโรคต่อมไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Hyperthyroidism ) และโรคคุชชิง (Cushing’s syndrome)
การป้องกันกระดูกพรุน
- รับประทานอาหารให้ครบทุกหมู่ โดยเฉพาะแคลเซียมและวิตามินดีซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญในการเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรง ควรได้รับปริมาณแร่ธาตุทั้ง 2 นี้อย่างเหมาะสมตั้งแต่วัยเด็กตลอดช่วงอายุเพื่อความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งจะสมบูรณ์ที่สุดในช่วงอายุ 20 ปีปลายๆ หรือ 30 ปีต้นๆ
- ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
- ระวังเรื่องการหกล้ม
- งดสูบบุหรี่ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
- ตรวจร่างกายประจำปี โดยเฉพาะเมื่ออายุมากกว่า 50 ปีควรเข้ารับการตรวจวัดกระดูกเพื่อป้องกันการเสื่อมแต่เนิ่นๆ
อาการกระดูกพรุน
- ระยะเริ่มต้น
มักไม่มีอาการเตือนใด ๆ ผู้ป่วยมักไม่ทราบว่าตัวเองเป็นโรคกระดูกพรุนจนเกิดอุบัติเหตุและนำไปสู่ภาวะกระดูกหัก - ระยะรุนแรง
กระดูกของผู้ป่วยจะบางมากมีปวดหลังเรื้อรัง หลังโก่งค่อม ส่วนสูงลดลงเนื่องจากการหักและยุบตัวของกระดูกสันหลัง
กระดูกพรุนส่งผลต่อกระดูกสันหลังอย่างไร
- แนวกระดูกสันหลังผิดรูป เช่น หลังค่อม หลังทรุด หรือกระดูกสันหลังคด ทำให้ร่างกายเสียสมดุลร่างกายสี่ยงต่อการหกล้ม
- กระดูกสันหลังหัก หรือยุบตัว ในบางรายอาจเกิดการไขสันหลังกดทับต่อเส้นประสาทร่วมด้วยได้
จะเห็นได้ว่าภาวะกระดูกพรุนนั้นเป็นภัยร้ายเงียบอย่างแท้จริง ฉะนั้นแล้วอย่าลืมดูแลร่างกายและกระดูก โดยการทานอาหารที่มีประโยชน์ ระวังการหกล้ม และออกกำลังกาย โดยวันนี้เรามีไอเท็มพิเศษที่เป็นได้ทั้งที่นอนที่บรรเทาอาการปวดหลัง ที่นั่งพัก หรือแม้กระทั้งใช้แทนเสื่อโยคะได้อีกด้วย นั้นก็คือท็อปเปอร์ยางพารา PATEX ที่ทั้งนอนสบายและเป็นฐานในการออกำลังกายได้และยังช่วยลดการหกล้มที่นำไปสู่ภาวะกระดูกหักและอันตรายจากกระดูกพรุนได้อีกด้วย