ปวดหลังร้าวลงขา สัญญาณเตือนโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ปวดหลังร้าวลงขา

เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเผชิญกับความทุกข์ทรมานของอาการ ปวดหลัง เพราะในแต่ละวันเราต่างต้องทำงานเป็นเวลานาน อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงกลายเป็นเรื่องปกติในสายตาใครหลายคน บางคนอาจทานยาแล้วหาย หรือนอนพักแล้วหาย แต่หากใครมีอาการ ปวดหลัง ไม่หาย ปวดจนร้าวลงขา ปวดบริเวณหลังส่วนเอว ร้าวลงไปจนถึงบริเวณสะโพก อาจร้าวข้างเดียวหรือทั้งสองข้าง มีอาการ ปวดหลัง เป็นๆหายๆ โดยลักษณะจะเป็นการปวดอยู่ข้างใน ไม่มีจุดที่กดเจ็บชัดเจน มีอาการปวดติดต่อกันนานมากกว่า 2 สัปดาห์ ในบางรายอาจมีอาการขาชาและอ่อนแรงร่วมด้วย อาการเหล่านี้ถือเป็นสัญญานเตือนที่ควรระวัง ซึ่งอาจเกิดจาก หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท คือภาวะที่เกิดจากการเสื่อมสภาพของโครงสร้างกระดูกสันหลัง ทำให้ทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาท ทำให้เส้นประสาทเกิดการอักเสบ ซึ่งหมอนรองกระดูกสันหลัง แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. ส่วนที่อยู่บริเวณศูนย์กลาง มีลักษณะอ่อนนุ่มคล้ายเจลลี่
  2. ส่วนที่อยู่โดยรอบ มีลักษณะเหนียวและหนาคล้ายเอ็น
  3. ส่วนที่ยึดติดกับข้อกระดูกสันหลัง มีลักษณะคล้ายกระดูกอ่อน

ซึ่งทั้ง 3 ส่วนนี้จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบหลัก มีหน้าที่ช่วยในการเคลื่อนไหวและรับแรงกระแทกของกระดูกสันหลัง หากกระดูกสันหลังถูกใช้งานหนัก ใช้งานผิดท่า รับน้ำหนักมากเกินไป เกิดอุบัติเหตุและการบาดเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสันหลังเสื่อมตามอายุ ก็อาจจะทำให้หมอนรองกระดูกสันหลังแตกและปลิ้นออกมาจนทรุดตัวและไปกดเบียดเส้นประสาทในที่สุด โดยอาการของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ส่งผลกระทบต่อหลายส่วนในร่างกาย ดังนี้

อาการปวดที่หลัง

หากโรค หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเกิดที่บริเวณกระดูกสันหลังส่วนล่าง ผู้ป่วยจะมีอาการ ปวดหลัง บริเวณเอว สะโพก และมักปวดร้าวลงขา แต่หากหมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทเกิดที่บริเวณสันหลังส่วนคอ ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอและร้าวลงแขน

อาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงและชา

เมื่อเส้นประสาทถูกกดทับด้วยหมอนรองกระดูกสันหลังจะทำให้มีความผิดปกติในการทำงานของเส้นประสาท ส่งผลให้เกิดอาการชา หรืออ่อนแรงของ แขน มือ ขา หรือ เท้าได้

ควบคุมการขับถ่ายไม่ได้

ในผู้ป่วยบางรายที่มีการกดทับไขสันหลังรุนแรงอาจส่งผลกระทบต่อการควบคุมการขับถ่าย

ระดับความรุนแรงของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

ระยะเริ่มแรก เมื่อหมอนรองกระดูกสันหลังเริ่มมีความเสื่อม จะทำให้เกิดอาการ ปวดหลัง เรื้อรัง โดยอาการปวดในช่วงแรกอาจเป็นๆหายๆ ก่อนจะปวดมากขึ้นเรื่อยๆ จนกลายเป็นความทรมานหรืออาจเกิดผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน

ระยะปานกลาง เป็นระยะที่หมอนรองกระดูกเริ่มเคลื่อนหรือปลิ้นออกมากดเบียดเส้นประสาท จนเกิดอาการปวดร้าวจากคอไปถึงแขน หรือจากหลังไปถึงขาและเท้า รวมถึงอาจมีอาการชาร่วมด้วย

ระยะรุนแรง เมื่อการกดทับเส้นประสาทรุนแรงขึ้น อาการปวด ชา และอ่อนแรงจะเริ่มเป็นมากขึ้น จนเส้นประสาทเกิดอาการบาดเจ็บ และอาจเสี่ยงต่อความพิการได้

 

วิธีการป้องกันการเกิดของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

1. ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้มากเกินไป

2. ระมัดระวังในการใช้งานหลัง

3. บริหารร่างกาย โดยเน้นท่าที่ช่วยเสริมสร้างความยืดหยุ่นให้กล้ามเนื้อหลัง

4. งดสูบบุหรี่ เพราะจะทำให้เส้นเลือดที่นำออกซิเจนไปเลี้ยงหมอนรองกระดูกเกิดความเสียหายได้

สำหรับวิธีการดูแลรักษาผู้ป่วย แพทย์จะเป็นผู้ตรวจวินิจฉัย โดยสามารถวินิจฉัยได้จากการซักประวัติและตรวจร่างกายเป็นหลัก อาจมีการตรวจเพิ่มเติมเพื่อยืนยันการวินิจฉัย เช่น ตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) และเลือกแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย โดยวิธีรักษาสามารถเริ่มต้นได้ด้วยตัวของผู้ป่วยเองไปจนถึงการรักษาโดยแพทย์หรือการใช้เครื่องมือทางการแพทย์ในการรักษา ดังนี้

  • ปรับสภาพการใช้งานให้ถูกต้อง ไม่ควรอยู่ท่าเดิมนานติดต่อกันเกิน 1 ชั่วโมง ควรจะลุกขึ้นเปลี่ยนอิริยาบถ หลีกเลี่ยงการก้มเงย หรือการยกของหนักเป็นประจำ
  • การฝึกยืดกล้ามเนื้อหลัง เพื่อเป็นการลดการเกร็งตัวของกล้ามเนื้อ อันเป็นสาเหตุของอาการ ปวดหลัง
  • ลดน้ำหนักและหลีกเลี่ยงกิจกรรมเสี่ยง สำหรับผู้ที่มีปัจจัยการเกิดโรคจากปัญหาน้ำหนักตัวเกินเกณฑ์ ควรเริ่มต้นการรักษาด้วยการลดน้ำหนักแบบถูกวิธีและปลอดภัย เพื่อไม่ให้ภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทเป็นหนักกว่าเดิม และควรหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือพฤติกรรมเสี่ยงอื่นๆ ที่อาจทำให้เกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลัง

  • กายภาพบำบัด วิธีการรักษาที่ได้ผลและได้รับความนิยมสำหรับผู้ที่มีอาการไม่รุนแรงมากนัก คือการทำกายภาพ ซึ่งจะช่วยลดอาการปวดตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย และทำให้ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติอย่างรวดเร็ว โดยใส่อุปกรณ์พยุงหลังร่วมด้วย
  • ยา การใช้ยาลดการอักเสบและยาคลายกล้ามเนื้อ เป็นวิธีการที่แพทย์ใช้ในการรักษาเบื้องต้นตามอาการ เพื่อลดอาการปวดและอักเสบ
  • การผ่าตัด เมื่อใช้การรักษาด้วยวิธีข้างต้นแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นหรือมีอาการบ่งชี้ถึงความรุนแรงของโรค เช่น ขับถ่ายลำบาก หรือปวดจนไม่สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ แพทย์จะแนะนำให้ผ่าตัดเพื่อรักษาอาการกระดูกสันหลังทับเส้นประสาท ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์สามารถช่วยให้การผ่าตัดกระดูกสันหลังมีความปลอดภัยและแม่นยำมากขึ้น ช่วยให้แผลผ่าตัดมีขนาดเล็กลง เสียเลือดน้อย ลดอาการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ ช่วยให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วและลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้

ด้วยความรุนแรงของโรค หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท หากมีอาการผิดปกติที่เกี่ยวกับกระดูกสันหลังไม่ควรปล่อยไว้ หรือรักษาด้วยวิธีที่ผิด เพราะอาจเกิดอาการบาดเจ็บมากขึ้น จนถึงขึ้นพิการได้ ส่งผลให้การรักษาทางการแพทย์ทำได้ยากและอาจใช้เวลานานขึ้น ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกวิธี

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า