ขับรถอย่างไร เมื่อมีอาการปวดหลัง

ขับรถอย่างไรเมื่อปวดหลัง

การขับรถ การเดินทางไกล หรือการจราจรที่ติดขัดทำให้ต้องอยู่บนรถเป็นเวลาหลายชั่วโมง นอกจากจะทำให้เพลียแล้วยังทำให้เกิดอาการปวดหลังด้วย ซึ่งอาการดังหล่าวเกิดจากการนั่งในท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งชิดหรือห่างจากพวงมาลัยมากเกินไป ไม่ได้ปรับความสูงของเบาะที่นั่งให้เหมาะสม เป็นต้น ซึ่งอาการปวดหลังระหว่างการขับรถมาจากการที่กล้ามเนื้อบริเวณแผ่นหลังอยู่ในท่าเดิมเป็นเวลานาน แม้จะอยู่บนเก้าอี้ที่ถูกออกแบบมาสําหรับสรีระในการนั่งขับขี่ ส่วนโค้งของหลังส่วนเอวจะโค้งกลับทิศขณะนั่ง กล้ามเนื้อบ่าและไหล่ที่ต้องถูกเกร็งขึ้นเพื่อจับพวงมาลัยตลอดเวลา

ประกอบกับการเพ่งมองไปข้างหน้าทําให้สายตาเกิดความเมื่อยล้า ทําให้เกิดความเครียด ส่งผลต่ออาการเกร็งของกล้ามเนื้อ เส้นประสาทต่างๆกับแรงกระทําต่อร่างกาย จากความเร่งในการเคลื่อนที่ แรงเหวี่ยง หรือแรงสั่นสะเทือนจากพื้นผิวถนน และยังต้องใช้เท้าเหยียบเบรค และคันเร่งที่จะสามารถใช้ในการช่วยทรงตัวเหมือนเวลานั่งเก้าอี้ปกติได้ การขับรถจึงส่งผลเสียต่างๆ มากมาย ซึ่งเมื่อมีอาการปวดหลังขณะขับขี่รถ สามารถบรรเทาลงได้ หากปฏิบัติตามนี้

1. ไม่อยากปวดหลัง ควรนั่งให้เต็มเบาะ หลังชิดพนักเก้าอี้ แล้วจึงค่อยๆ ปรับการเอนของเบาะให้เข้ากับช่วงแขนที่ต้องจับพวงมาลัย และช่วงขาที่ต้องเหยียบเบรกและคันเร่ง โดยพนักพิงควรเอนประมาณ 110 องศา นี่คือระดับที่กำลังดีเหมาะกับการขับรถและสรีระของผู้ขับขี่ที่ถูกต้อง

2. ปรับความสูงของเบาะและปรับกระจกให้เหมาะสม เพื่อให้ได้ทัศนะวิสัยที่ดี มองเห็นได้รอบรถและมองเห็นกระจกแต่ละส่วนได้ชัดเจน ซึ่งการปรับกระจกทั้ง 3 บาน เพื่อให้เห็นทัศนวิสัยโดยบานกลางจะต้องเห็น ด้านท้ายของรถ ส่วนบานด้านซ้ายและขวาต้องให้เห็นตัวรถ 1 ส่วน 4 และปรับความสูงของเบาะให้พอดีกับระดับสายตา กะง่ายๆ คือ ระยะห่างระหว่างเพดานรถและศีรษะกว้างประมาณ 1 กำปั้นมือของเรา ซึ่งผู้ชายอาจไม่มีปัญหาในจุดนี้มากนัก แต่สำหรับผู้หญิงที่มีขนาดตัวเล็กลงมาหน่อย ควรยกตัวเองให้สูงเพื่อให้หลังพิงนั่งชิดเบาะได้พอดี พร้อมกับมองทัศนวิสัยข้างหน้าได้กว้าง อย่าชะเง้อจนชิน

3. การจับพวงมาลัย งานวิจัยยังระว่า ส่วนใหญ่คนที่มี อาการปวดหลัง จากการ ขับรถ มักจะจับพวงมาลัยไว้ที่ตำแหน่ง 10 โมงเช้าหรือบ่ายสองโมง ซึ่งจะทำให้เกร็งแขนและไหล่โดยไม่รู้ตัว โดยท่าจับพวงมาลัยที่ถูกต้องคือ จับทั้งสองมือในจุด 3 และ 9 นาฬิกา เมื่อต้องหมุนพวงมาลัยให้ใช้ทั้งสองมือช่วยกันหมุนเพื่อลดแรงหมุนจากช่วงไหล่และข้อมือ ส่วนการขับรถมือเดียวจะเป็นอันตรายต่ออุบัติเหตุและเพิ่มภาระกับข้อต่อ ไหล่และกล้ามเนื้อแขนเพียงข้างเดียวมากเกินไป

4. หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น ขับรถนาน ก้มเงยบ่อย การหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเป็นสิ่งที่ทำให้ อาการปวดหลัง ส่วนล่างบรรเทาอาการได้ดีที่สุด โดยพฤติกรรมเสี่ยงก็มีอยู่หลายพฤติกรรมไม่ว่าจะเป็นการนั่งในท่าเดิมเป็นเวลานาน การนั่งทำงานในออฟฟิศ การขับรถนาน การยกของหนัก หรือการเอี้ยวหรือบิดตัวมากเกินไป เป็นต้น

5. เสริมอุปกรณ์ในการขับรถ การเสริมอุปกรณ์ในการนั่งขับรถก็จะช่วยทำให้เกิดความสบายขณะขับรถมากขึ้น อย่างการเสริมเบาะรองหลังก็จะช่วยทำให้หลังของเราชิดกับเบาะได้มากขึ้น การทำงานของหลังก็จะลดลงทำให้กล้ามเนื้อหลังสบายมากขึ้น โดยเฉพาะคนที่ตัวเล็กเวลาขับรถแล้วบางที่การปรับเบาะรถเข้ามาชิดกับพวงมาลัยจนเกินไป การเสริมเบาะก็จะทำให้ปรับได้พอดีมากขึ้นหลังชิดกับเบาะพอดี และทำให้ระยะของขาและแขนพอดีกับเบรคและพวงมาลัยได้ ร่วมถึงหมอนรองคอจะช่วยรองรับศีรษะและป้องกันการสะบัดศีรษะไปทางข้างหลังอย่างรุนแรงเมื่อเกิดอุบัติเหตุได้ด้วย

 

6. ดูแลสุขภาพหลังด้วยตัวเองง่ายๆ โดยการกายภาพ ดังนี้

  1. แขม่วพุงไว้เสมอขณะนั่งขับรถ ไม่ใช่เสริมสร้างบุคลิกภาพในตอนขับรถ แต่การแขม่วพุงจะช่วยกระดูกสันหลังให้แข็งแรงและไม่บิดเบี้ยวจากการนั่งที่ลืมตัว
  2. ยกแขนข้างหนึ่งตั้งฉากกับพื้นยืดศอกให้ตรงค้างในอากาศ แล้วใช้อีกมือช่วยดัดข้อมือให้ตึง ค้างไว้สักข้างละ 5-10 วินาที ช่วยยืดข้อมือและศอกให้ตึง
  3. ใช้แขนตรงยืดออกข้างตัว พร้อมกับผายอกให้สุด ช่วยยืดกล้ามเนื้อไหล่ หลัง หน้าอกให้คลายตัวจากความเมื่อยล้าในขณะที่นั่งรถติดเป็นเวลานานได้ดี
  4. เหยียดขาออกไปด้าหน้า จากนั้นยกเท้าขึ้น เหยียดปลายเท้าให้สุด และให้กระดกปลายเท้าขึ้นลงทำประมาณ 5 ครั้ง โดยทำสลับข้างไปเรื่อยๆ โดยเป็นวอธีที่ช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้าขณะขับรถได้ดี
  5. นั่งยืดตัวตัวตรงและเอามืจับที่เบาะรถ จากนั้นใช้มือซ้ายสอดเข้าไปใต้ขาขวา จากนั้นบิดัวค้างไว้นับ 1-5 และทำสลับข้างไปมาประมาณ 5 ครั้ง

อย่างไรก็ตามหาก หากรู้ตัวว่าอยู่ในรถเป็นเวลาเกิน 1-2 ชั่วโมง หรือต้องขับรถไปในที่ไกลๆ ควรหาจุดพักรถ ลงมายืดเส้นยืดสาย เข้าห้องน้ำ หาเครื่องดื่มอาหารรับประทาน เพื่ออย่างน้อยไม่เครียดและร่างกายได้เปลี่ยนท่าทางบ้าง และหากฝืนขับรถต่อไปอาจทำให้เสี่ยงเกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า