7 ปัจจัยเสี่ยงกับการนั่งผิดท่า

ปัจจัยเสี่ยงการนั่งผิดท่า

ทุกวันนี้คนเราใช้ชีวิตโดยไม่ค่อยระมัดระวัง ไม่ว่าจะเป็นการกิน การนอน หรือแม้กระทั่ง การนั่ง ที่หลายคนคิดว่าไม่จำเป็นต้องใส่ใจอะไรมากแต่อาจไม่ทันคิดว่าเรื่องการนั่งในชีวิตประจำวันนั้นสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายได้และอาจเกิดความเสี่ยงอื่นๆ ตามมามากมายหากเรานั่งผิดท่าเป็นเวลานานอาการเจ็บปวดต่างๆ ที่หลายคนคงเคยพบเจอ ไม่ว่าจะปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดข้อนิ้ว ข้อมือ สายตาล้า นอนไม่หลับ ไม่มีสมาธิ และกระดูกหลังคด ซึ่งปัญหาเหล่านี้หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจทำให้เกิดอาการเรื้อรังและเกิดโรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาได้ และในบทความนี้จะเสนอ 7 ปัจจัยเสี่ยงกับการนั่งผิดท่า ดังนี้

1. ปวดคอหรือปวดหลังส่วนบน

การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กระดูกสันหลัง การยกศีรษะทำมุม 30 องศาจำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าตอนยกศีรษะให้ตั้งตรง 3-4 เท่า ซึ่งสามารถแก้ปัญหานี้ได้โดยจัดตำแหน่งคอมพิวเตอร์ใหม่โดยให้กึ่งกลางของหน้าจออยู่ในระดับเดียวกับคางซึ่งมันจะช่วยให้คออยู่ในตำแหน่งที่เป็นกลางแต่หากไม่สามารถทำได้ให้จัดท่าทางใหม่โดยยกคอมพิวเตอร์หรือทีวีให้สูงขึ้นเพื่อให้มันอยู่ในตำแหน่งการนั่งที่ไม่ต้องก้มดูหน้าจอ

 

2. ไม่มีสมาธิ

การนั่งผิดท่าเป็นเวลานานจะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองตื้อ และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่างๆ ได้ ดังนั้นควรหาเวลาเดินหรือเคลื่อนไหวร่างกายโดยอาจเดินไปส่งเอกสารให้เพื่อนร่วมงานและเดินไปถ่ายเอกสารหรืออาจเดินไปสูดอากาศข้างนอกบ้างแทนที่จะอยู่แต่ในห้องสี่เหลี่ยมแต่ให้ทำสิ่งเหล่านี้ทีละครั้งแทนการทำรวดเดียวตอนลุกขึ้นเดิน

3. ภาวะซึมเศร้า

มีงานวิจัยที่ถูกเผยแพร่ใน American Journal of Preventative Medicine ระบุว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่นั่งมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่นั่ง 4 ชั่วโมง หรือน้อยกว่านี้ต่อวัน ดังนั้นลองใช้เวลาอยู่กับธรรมชาติบ้างคนที่ใช้เวลาเดินอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ 90 นาที มีแนวโน้มที่จะจมอยู่กับอารมณ์เชิงลบน้อยกว่าคนที่เดินในเมืองการมีความคิดที่ไม่ดีก็สามารถเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคซึมเศร้าและโรคทางจิตอื่นๆ

 

4. อินซูลินมีปัญหา

การใช้ชีวิตแบบนั่งๆ นอนๆ เพียงวันเดียวสามารถทำให้กิจกรรมของอินซูลินลดลงเมื่อร่างกายไม่ได้ใช้อินซูลินอย่างเหมาะสมก็มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น ดังนั้นควรพกขวดน้ำติดตัวเพราะเมื่อร่างกายขาดน้ำระดับของฮอร์โมนวาโซเพรสซินจะเพิ่มขึ้นซึ่งสามารถทำให้ระดับของน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้มีงานวิจัยของประเทศฝรั่งเศสพบว่าคนที่ดื่มน้ำมากขึ้นมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 ลดลง สำหรับปริมาณน้ำที่ดื่มต่อวันคือ 17-34 ออนซ์

5. ปวดหลังช่วงล่าง

การนั่งที่โต๊ะเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดอาการปวดเพียงเล็กน้อยในช่วงเริ่มแรก แต่สุดท้ายแล้วอาการก็อาจทำให้ปวดหลังได้ การนั่งผิดท่าสามารถทำให้เกิดปัญหากับกระดูกสันหลังได้ ควรจัดท่าทางนั่งให้เหมาะสม ใช้คีย์บอร์ดแยกออกมาจากแล็ปท็อปเพื่อป้องกันไม่ให้ต้องก้มหลังและจัดคีย์บอร์ดให้อยู่ในตำแหน่งที่ข้อศอกงออยู่ใกล้ลำตัวและข้อมือยืดออกได้เล็กน้อย

6. ปวดขา

เมื่อไม่ได้เหยียดขาหรือเคลื่อนไหว ก็จะทำให้เริ่มปวดกล้ามเนื้อและหากละเลยปัญหานี้ อาการปวดก็จะยิ่งแย่ลงสิ่งที่ต้องทำคือวางเก้าอี้ใหม่เพื่อให้ขาอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้รู้สึกสบายในขณะนั่งวางฝ่าเท้าราบไปกับพื้นและปรับเก้าอี้ให้สูงเพื่อให้หัวเข่าสูงกว่าสะโพกเล็กน้อย

7. กระดูกอ่อนแอ

การนั่งอยู่กับที่สามารถทำให้กระดูกเสื่อมสภาพและทำให้แร่ธาตุในกระดูกลดลงได้ โดยสามารถเสริมความแข็งแรงให้กระดูกโดยทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักโขม อาหารที่มีวิตามินดีอย่างไข่และปลาทูน่า ทั้งนี้วิตามินดีจะช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น

 

ปัจจัยเสี่ยงทั้งหมดที่ได้กล่าวไปข้างต้น อาจเกิดจากพฤติกรรมการนั่งผิดท่านั่นเอง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้เสียสุขภาพมากไปกว่านี้ควรปรับการนั่งให้ถูกต้องเหมาะสมและไม่ทำร้ายสุขภาพของตัวเราเองโดยมีคำแนะนำ ดังนี้

ห้ามนั่งกึ่งนั่งกึ่งนอน การนั่งพิง เอนหลัง แบบนั่งกึ่งนั่งกึ่งนอน โดยทิ้งน้ำหนักไปที่หลังแทนที่จะเป็นก้น จะทำให้ปวดหลัง เสี่ยงเกิดเส้นประสาทกดทับ

ห้ามนั่งไขว่ห้างนานๆ ท่านี้ทำให้น้ำหนักของลำตัวทั้งหมดเทไปที่กระดูกสันหลัง จึงเสี่ยงเป็นกระดูกสันหลังคดในระยะยาว

ห้ามนั่งเท้าคาง เนื่องจากทำให้เสียบุคลิก และทำให้ข้อมือปวดเมื่อย และการกดทับมือกับใบหน้าเป็นเวลานานเสี่ยงทำให้เกิดริ้วรอยบนผิวได้

ห้ามนั่งขัดสมาธิ หากนั่งแล้วสลับเปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ ก็อาจจะไม่เป็นไร แต่ถ้านั่งขัดสมาธินานๆ ท่าเดิม จะส่งผลเสียต่อเข่า และเสี่ยงทำให้เข่าเสื่อม

ห้ามนั่งหลังงอ เพราะทำให้เสียบุคลิกภาพ ทำให้ปวดหลัง และมีแนวโน้มทำให้หลังคดงอ ดังนั้น การนั่ง ที่ถูกต้องคือควรนั่งหลังตรง เพราะนอกจากจะทำให้มีบุคลิกภาพที่ดีแล้วยังจะช่วยจัดระเบียบกระดูกของเราไปในตัวด้วย

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า