เจ็บไหล่ อย่าปล่อยไว้นาน เสี่ยงเป็นเอ็นข้อไหล่ฉีก

เจ็บไหล่

คงไม่ดีแน่ หากการใช้ชีวิตของเราในแต่ละวันต้องเจอกับอาการเจ็บไหล่ตลอดเวลา ทำให้การยกของ การเอื้อมหยิบของสูง รวมไปถึงการนอนเต็มไปด้วยความทรมาน แถมอาจต้องรบกวนให้คนอื่นมาช่วยดูแล หลายคนจึงรู้สึกรำคาญใจกับปัญหานี้ไม่น้อย สิ่งที่เราต้องรู้ก็คือ อาการเจ็บไหล่ของเราอาจมีสาเหตุมาจากเอ็นข้อไหล่ฉีกขาดได้ ซึ่งหากปล่อยไว้นานจะทำให้ความเจ็บปวดทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น

เข้าใจโครงสร้างกันก่อน เราเจ็บไหล่เพราะเส้นเอ็นมีปัญหา

บริเวณกระดูกส่วนที่เป็นต้นแขนและกระดูกสะบัก เชื่อมต่อกันอยู่ได้ด้วยเส้นเอ็นจำนวน 4 เส้น ที่อยู่รอบข้อไหล่ โดยหน้าที่สำคัญของเส้นเอ็นเหล่านี้ คือ การสร้างความมั่นคงและช่วยในเรื่องการเคลื่อนไหวของข้อไหล่ เช่น การหมุนไหล่ ยกแขน ชูแขน หรือกางแขน เพราะฉะนั้น เมื่อเส้นเอ็นเกิดการเสื่อมสภาพ อักเสบ และฉีกขาด เราจึงทำท่าทางดังกล่าวได้ไม่สะดวก และมีอาการเจ็บไหล่ตามมา

เอ็นข้อไหล่ฉีก

ปัจจัยที่ทำให้เอ็นข้อไหล่ฉีก มีอะไรบ้าง

สาเหตุหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 3 ข้อ คือ

  • ความเสื่อมตามอายุ โดยส่วนใหญ่แล้วผู้ที่มีปัญหาเจ็บไหล่ ก็มักเป็นผลมาจากปัจจัยนี้ โดยเฉพาะในกลุ่มคนช่วงวัย 50 ปีขึ้นไปจะพบได้มากถึง 20% เนื่องจากเส้นเอ็นรอบข้อไหล่ของคนเราจะบางลงเรื่อย ๆ ตามอายุที่มากขึ้น แต่หลายคนยังทำงานที่ต้องใช้หัวไหล่มาก จึงเกิดอาการฉีกขาดและทำให้เจ็บไหล่ได้
  • การใช้งานช่วงไหล่หนักเกินไป พบว่ายุคปัจจุบันวัยรุ่นหรือคนวัยทำงานเป็นโรคนี้กันมากขึ้น เนื่องจากมีการยกแขน หรือยกช่วงไหล่บ่อย ๆ ส่วนมากพบได้ในกลุ่มอาชีพพนักงานยกของ/ส่งของ ครูอาจารย์ นักกีฬาเทนนิส/แบดมินตัน เป็นต้น ซึ่งอาการปวดเจ็บจะไม่ได้เกิดขึ้นในทันที แต่จะค่อย ๆ สะสมจนเริ่มมีอาการอักเสบก่อน จากนั้นจึงเข้าสู่ระยะการฉีกขาด
  • อุบัติเหตุ เช่น หกล้มแล้วหัวไหล่กระแทก การเอี้ยวแขนไปด้านหลังผิดจังหวะ การถูกกระชากแขนแรง ๆ จะทำให้เส้นเอ็นเกิดการตึงตัวอย่างกะทันหันและฉีกขาด
    หากคนที่เส้นเอ็นเสื่อมสภาพหรืออักเสบอยู่ แล้วมีภาวะกระดูกงอกช่วงหัวไหล่ ยิ่งเร่งให้เส้นเอ็นตรงจุดนี้ฉีกขาดได้เร็วขึ้น เพราะเหมือนกับเชือกที่มีรอยฉีกเล็ก ๆ เสียดสีกับของแข็งซ้ำไปซ้ำมา วันหนึ่งจึงขาดออกจากกันได้

เจ็บไหล่แบบไหนที่แปลว่าเส้นเอ็นฉีก

หลายคนสับสนว่า เส้นเอ็นฉีกจะมีอาการเจ็บไหล่ช่วงด้านหลัง แต่จริง ๆ แล้วนั่นคืออาการกล้ามเนื้ออักเสบที่ทำให้ปวดหลังส่วนบน หรืออาจมีปัญหาหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ซึ่งถ้าเป็นอาการของเส้นเอ็นฉีก ส่วนใหญ่จะปวดเจ็บเฉพาะช่วงด้านหน้าหรือด้านข้างของข้อไหล่

ความเจ็บปวดจะมีมากขึ้นเวลาที่ต้องใช้งานช่วงไหล่ หรืออยู่ในท่านอนตะแคงทับแขน หากตอนนอนไม่ได้ใช้หมอนที่สอดรับเข้ากับช่วงไหล่ได้ดี ยิ่งทำให้บางคนเกิดปัญหานอนไม่หลับได้ด้วย

นอกจากเจ็บไหล่แล้วยังมีอาการที่เด่นชัด คือ แขนไม่มีแรงเมื่อเทียบกับตอนที่ยังไม่มีอาการเจ็บ หากลองยกแขนจะพบว่ายกค้างไว้ได้ไม่นาน แขนก็จะตกลง ซึ่งเป็นเพราะเส้นเอ็นมีจุดที่ฉีกขาด จนไม่สามารถดึงรั้งให้แขนยกขึ้นอยู่ได้เหมือนปกติ

อาการเอ็นข้อไหล่ฉีก หายเองได้ไหม

ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและดุลยพินิจของแพทย์ เนื่องจากรอยฉีกขาดของแต่ละคนมีลักษณะไม่เหมือนกัน ส่งผลให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตต่างกัน ตามปกติแพทย์จะแนะนำทั้งการให้ยา พร้อมกับแนะนำให้พักการใช้งานช่วงไหล่จนกว่าจะหายดี แต่ถ้ามีรอยฉีกขาดมากแล้ว มักต้องเข้าผ่าตัดและทำท่ากายภาพบำบัดเพิ่มเติม

หากพบว่าตัวเองมีอาการเจ็บไหล่นานเป็นเดือน ทางที่ดีควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการเอกซเรย์ เพราะหากพบว่าเกิดรอยฉีกขาดขึ้นจริง ๆ การปล่อยไว้นานจะทำให้ตัวเส้นเอ็นเกิดการหดตัว และแยกกันจากกันมากขึ้น เมื่อเข้ารับการผ่าตัดเพื่อผสานแผลเหล่านั้น ก็จะยิ่งทำได้ยากและได้ผลลัพธ์ไม่เต็มร้อย

ไม่อยากเจ็บไหล่เพราะเอ็นข้อไหล่ฉีก ต้องทำยังไง

หากย้อนกลับไปดูหัวข้อปัจจัยที่ทำให้เส้นเอ็นฉีก จะพบว่าความเสื่อมของร่างกายตามอายุมีผลมาก และถือว่าเราหลีกเลี่ยงปัจจัยนี้แทบไม่ได้เลย ดังนั้นใครที่รู้ว่าตอนนี้ตัวเองยังอยู่ในวัยหนุ่มสาว แต่ดันมีอาการเจ็บไหล่ขึ้นแล้ว ควรเช็กตัวเองว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมาเรามีท่าทางที่ทำร้ายไหล่อยู่หรือเปล่า

เช่น เวลาทำงานชอบนั่งกอดอกยกไหล่บ่อยแค่ไหน, ตอนตีแบดฯ หรือเล่นเทนนิส เราออกแรงเหวี่ยงมากไปหรือไม่ ได้ใช้ตัวช่วยดูแลสุขภาพสำหรับนักกีฬาบ้างไหม, กระเป๋าคู่ใจของเราหนักเกินไปหรือเปล่า หรืออีกกรณีคือ ปรับเปลี่ยนตัวเองให้ใช้งานหัวไหล่น้อยลงแล้ว แต่อาการเจ็บไหล่ยังหลอกหลอนตอนเข้านอน เป็นไปได้ว่าสาเหตุมาจากใช้หมอนที่ไม่ดีต่อสุขภาพ

เพราะหมอนเพื่อสุขภาพ มักผ่านการศึกษาวิจัยทางการแพทย์มาแล้ว จนมีการออกแบบรูปทรงที่แตกต่างจากหมอนทั่วไป ทำให้สอดรับกับสรีระตั้งแต่ช่วงศีรษะ ลำคอ ไปจนถึงช่วงไหล่ได้อย่างสมดุล

เพราะฉะนั้น อย่าลืมสำรวจตัวเองตั้งแต่วันนี้ ใครยังไม่มีอาการเจ็บไหล่ก็ต้องระวัง เพราะการพบความผิดปกติในระยะแรก โอกาสลุกลามยิ่งน้อยลง

 

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า