ตอนทำงานก็ปรับท่านั่งให้ถูกต้องแล้ว ใช้ที่นอนยางพาราก็แล้ว ยืดเส้นยืดสายก็ทำเป็นประจำ แต่ทำไมอาการปวดหลัง ปวดเมื่อยยังตามมารบกวนชีวิตไม่จบสิ้น นั่นอาจเป็นเพราะมีสาเหตุมาจากท่านอนตอนกลางคืน งั้นมาเช็กลิสต์กันหน่อยว่าใครกำลังนอนด้วยท่าทางนี้อยู่บ้าง บางทีคุณอาจจะเพิ่งรู้ว่า ท่านี้ก็ไม่ดีต่อสุขภาพอย่างนั้นเหรอ
4 ท่านอนอันตราย ทำร้ายสุขภาพ
คุณหมอ ภัทร อำนาจตระกูล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท ได้กล่าวถึงเรื่องท่านอนที่ไม่เหมาะสมไว้ว่า โดยหลัก ๆ มีอยู่ด้วยกัน 4 ท่านอน ได้แก่
1. ท่านอนคว่ำ
เป็นท่านอนที่ไม่เป็นไปตามธรรมชาติของร่างกาย เพราะโดยปกติ กระดูกสันหลังทำหน้าที่เป็นแกนกลางที่รับน้ำหนักของร่างกาย แต่เมื่อคุณนอนคว่ำลง นั่นหมายถึงกำลังให้ช่วงท้องและปอดรับน้ำหนักตัว ส่งผลให้หายใจไม่สะดวก และกระดูกสันหลังที่ก็จะแอ่นตัวลงมากกว่าปกติ ยิ่งถ้าใครที่ไม่ได้ใช้ที่นอนยางพาราแท้ แล้วเจอปัญหาที่นอนนิ่มเกินไปหรือเป็นแอ่งหลุม การแอ่นตัวของกระดูกก็จะยิ่งมีมากขึ้นไปด้วย
ยิ่งคนที่มีปัญหาปวดคอยิ่งไม่ควร เพราะทุกครั้งที่นอนท่านี้ หัวของเราจะต้องหันไปทางใดทางหนึ่งซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ปวดคอมากขึ้น ข้อเข่ายังต้องรับแรงกดจากน้ำหนักตัวในระหว่างที่นอนนาน ๆ อาจกลายเป็นปัญหาข้อเข่าเสื่อมได้อีกในอนาคต
2. ท่านอนตะแคงทับแขนตัวเอง
ถ้านอนตะแคงแล้วแขนได้ยืดออกมาได้ข้างก็ไม่ส่งผลเสียอะไร แต่ถ้าทับไหล่ข้างหนึ่งอย่างเต็มที่ นั่นเท่ากับว่า คุณกำลังทับส่วนเส้นประสาทที่เชื่อมโยงกันอยู่ทั่วแขน ผลที่ตามคือแขนข้างนั้นเกิดอาการเจ็บหัวไหล่ ประกอบกับมีอาการช้าและอ่อนแรง ทำให้ตื่นมาแล้วแขนไม่มีกำลังพร้อมเริ่มทำกิจกรรม ใหม่ ๆ
เมื่อทำบ่อย ๆ อาจเกิดอาการข้อมือตกจากการถูกกดทับของเส้นประสาทเรเดียน (Radial Nerve) ทำให้ต้องเสียเวลาไปหาหมอเฉพาะทางเพื่อรักษาตัว นอกจากนั้น การนอนตะแคงอาจทำใบหน้าข้างที่ถูกทับมีโอกาสเกิดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้มากขึ้น
3. ท่านอนขดตัว
ท่านี้คือท่าที่ทำร้ายระบบกล้ามเนื้อและกระดูกแทบจะทุกส่วน ตั้งแต่คอ หลัง ไปจนถึงเข่า เพราะเวลาที่เรานอน โครงสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อจะอยู่ในลักษณะที่โค้งงอเป็นส่วนใหญ่ เมื่อนอนเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็จะส่งผลให้กล้ามเนื้อเกร็งตัวมากเกินไปจนเกิดอาการอักเสบ ส่วนกระดูกก็มีโอกาสโก่งงอและผิดรูปได้
4. ท่ากึ่งนั่งกึ่งนอน
ท่ายอดฮิตของคนที่ชอบทำงานบนเตียง รวมถึงเหล่าคอซีรีส์ สายอนิเมะ และคนที่ติดโซเชียล ช่วงคอที่อยู่ในลักษณะโค้งงอนาน ๆ ย่อมเกิดอาการปวดตามมา และยังส่งผลไปที่มวลกล้ามเนื้อหลังส่วนล่างที่ต้องแอ่นตัวไว้ตลอด เพื่อประคองอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ไว้
บางคนที่เผลออยู่ในท่านี้ทั้งคืนบ่อย ๆ เพราะดูเพลินจนหลับคาจอ ยิ่งส่งผลให้อาการปวดคอ บ่า ไหล่ เอว มาเยือนง่ายขึ้น และอาจส่งผลเสียต่อหมอนรองกระดูกสันหลังด้วย
ท่านอนแบบไหนดีที่สุด แถมแก้ปวดหลัง
1. ท่านอนหงาย
เป็นท่านอนที่น้ำหนักตัวไม่ได้กดลงไปยังจุดใดจุดหนึ่งของแผ่นหลัง แต่มีการกระจายไปตามส่วนต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอกัน รวมทั้งกระดูกสันหลังจะได้อยู่ในแนวระนาบเดียวกัน ถ้าจะให้ดีหาหมอนมารองใต้ช่วงเข่าด้วยก็ได้ เพราะจะทำให้หลังส่วนล่างไม่แอ่นตัวมากและแก้ปวดหลังได้ดี
อย่างไรก็ตาม ท่านี้ไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะเวลาที่นอนหงาย ทางเดินหายใจช่วงบนจะมีลักษณะแคบลง
2. ท่านอนตะแคง
ท่านี้สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องไม่ทับส่วนแขนและหน้าด้านหนึ่งอย่างเต็ม ๆ เหมือนที่กล่าวไป รวมทั้งหาหมอนข้างยางพารามาเสริม ขาล่างเหยียดตรง ขาบนก่ายไว้บนหมอนข้าง จะช่วยป้องกันไม่ให้ขาด้านบนทับขาด้านล่างมากเกินไป และไม่ทำให้ลำตัวบิดลงจนส่งผลเสียต่อกระดูกสันหลังส่วนล่าง
ข้อแนะนำเพิ่มเติม
- หมั่นขยับตัวเพื่อปรับเปลี่ยนท่านอนบ่อย ๆ
- ใช้หมอนที่ไม่สูงหรือเตี้ยเกินไป จนทำให้ขณะนอนกระดูกคอโค้งงอไปตามความสูง-ต่ำของหมอน ซึ่งอาจเจออาการปวดคอหนัก ๆ ร่วมด้วย บางทีตื่นมาหันหน้าซ้าย-ขวาไม่ได้จนกระทบชีวิตประจำวั
- นอกจากนั้น อย่าลืมปรับสภาพแวดล้อมในห้องนอน หรือตกแต่งห้องนอนให้เหมาะแก่การนอนหลับ
สุดท้ายนี้ต้องยอมรับว่า 4 ท่านอนแบบผิดๆ ข้างต้น คือท่านอนประจำตัวของใครหลายคน เพราะเราคิดกันว่ามันแสนจะสบาย ไม่น่าจะต้องไปกังวลอะไรมากมาย ดังนั้น เมื่อรู้แล้วก็ต้องรีบปรับการใช้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่ท่านอน แต่ยังรวมถึงท่านั่งและท่าเดิน
ยิ่งถ้าใครได้ใช้ชุดที่นอนยางพารา หมอนยางพารา ของ PATEX เข้าไปด้วย ยิ่งลดการแวะเวียนไปร้านนวดแผนไทยหรือแผนกหมอกระดูกไปได้เยอะ เพราะคนไทยต่างรู้ดีว่า PATEX คือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับ ทุกขั้นตอนการผลิตจึงมีความใส่ใจและมีการพัฒนาอยู่เสมอ จนได้มาเป็นที่นอนยางพาราเพื่อสุขภาพ ช่วยแก้ปวดหลัง เพราะรองรับสรีระร่างกายได้ทั้ง 7 ส่วน ตั้งแต่ช่วงศีรษะ คอ ไหล่ กระดูกสันหลัง สะโพก ขา หัวเข่า ไปจนถึงข้อเท้า และเหมาะกับสรีระคนไทยทุกเพศทุกวัย ใครยังไม่มี แนะนำว่าควรไปหาซื้ออย่างแรงที่ PATEXSTORE.COM