อันตรายจาก Forward Head Posture อาการคอยื่น

อาการคอยื่น

อาการปวดคอเป็นโรคทางระบบกล้ามเนื้อและกระดูกที่พบได้ในบุคคลทั่วไป เป็นปัญหาสุขภาพที่ไม่ว่าทางร่างกายหรือจิตใจที่เกิดขึ้นกับคนในยุคปัจจุบัน ส่วนหนึ่งก็มาจากการใช้ชีวิตของคนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งการทำงานที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์นาน ๆ การนอนหมอนที่สูงเกินไป หรือการก้มหน้าเล่นโทรศัพท์มือถือจนกลายเป็นสังคมก้มหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบให้คุณภาพชีวิตลดลง อาจนำไปสู่การขาดงาน ประสิทธิภาพการเคลื่อนไหวลดลง และรู้สึกไม่สบายทำให้สุขภาพเสียได้ หรือบุคลิกภาพเสียได้ จนนำไปสู่การเกิดปัญหาคอยื่นหรือ Forward head posture นั้นเอง

ทำความรู้จัก Forward head posture

Forward head posture คืออาการที่กระดูกสันหลังส่วนคอที่ยืนออกไปข้างหน้ามากกว่าปกติ ส่งผลให้บริเวณคอและไหล่ต้องแบกรับแรงกดทับมากขึ้น และแรงกดดันที่เส้นประสาทเพิ่มมากขึ้นจะทำให้เกิดอาการอ่อนแรกได้ นายแพทย์ Adalbert Ibrahim Kapandji ได้กล่าวไว้ในหนังสือ physiology of the joints ว่า ในทุก ๆ 1 นิ้วที่คอยื่นออกมานั้นจะทำให้คอและกล้ามเนื้อบริเวณหลังส่วนบนต้องรองรับน้ำหนักมากขึ้นกว่า 4 กิโลกรัม ซึ่งจะส่งผลให้ผู้ที่มีอาการดังกล่าวไม่สามารถหดคอแล้วใช้คางแตะอกได้

สาเหตุ Forward head posture

  • กล้ามเนื้อคอ บ่า อ่อนแอไม่แข็งแรง เนื่องจากขาดการออกกำลังกาย
  • ท่านอนหลับที่ไม่ถูกสุขลักษณะ อย่างเช่น การหนุนหมอนที่แข็งและสูงหรือต่ำจนเกินไป
  • การเล่นกีฬาที่ต้องมีการขยับร่างกายบริเวณคออยู่ตลอดเวลา เช่น กีฬาเทนนิส กอล์ฟ หรือเบสบอล เป็นต้น
  • การก้มหน้าเล่นโทรศัพท์ติดต่อกันนาน ๆ เป็นประจำ
  • การนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน ๆ โดยไม่พัก
  • การสะพายกระเป๋าที่มีน้ำหนักมากเกินไปบนบ่าข้างใดข้างหนึ่งจนทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและหลังส่วนบนต้องรับน้ำหนักของกระเป๋าเป็นเวลานาน ๆ
  • การเสื่อมสภาพตามวัยของหมอนรองกระดูกบริเวณกระดูกสันหลังส่วนคอ

อาการ Forward head posture

  • ปวดคอ บ่า ไหล่เรื่อรัง
  • ปวดหัวและปวดไมเกรน
  • หมอนรองกระดูกเสื่อม ซึ่งอาจเกิดมาจากกระดูกสันหลังเคลื่อนไปทับเส้นประสาท
  • ชาตามแขนและมือ
  • การเคลื่อนไหวคอลดลง
  • อ่อนเพลีย ล้า ความอยากอาหารลดลง
  • ข้อต่ออักเสบ
  • บุคลิกภาพเสีย ไหล่ห่อ
  • ฟันขบตอนนอน

Forward head posture ส่งผลเสียอย่างไร

  1. ศีรษะที่ยื่นออกมาจากจุดศูนย์ถ่วงของร่างกาย ทำให้ร่างกายอาจเสียสมดุลได้ง่ายกว่าเดิม เพราะต้องรับน้ำหนักมากกว่าปกติ และนำไปสู่การปวดคอ ปวดหลังเรื่อรัง
  2. หลังส่วนบนจะค่อยๆเอนลงไปด้านหลังจนผิดปกติ เป็นสาเหตุทำให้กระดูกสันหลังผิดรูปและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
  3. กระดูกสะโพกเอียงไปทางด้านหน้าผิดไปจากเดิม ทำให้มีลักษณะการยืนและการเดินผิดปกติ อีกทั้งอาจทำให้เป็นปัญหาบริเวณหลังส่วนกลางและหลังส่วนล่างได้

วิธีแก้ไข Forward head posture

  1. ทำกายภาพบำบัด
  2. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการนั่งทำงาน
  3. สะพายกระเป๋าที่ไม่หนักเกินไป
  4. ใช้หนอนหนุนที่เหมาะกับสรีระของคอ
  5. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

วิธีออกกำลังกายลดอาการคอยื่น

  1. คลายกล้ามเนื้อ โดยใช้ลูกเทนนิสหรืออุปกรณ์สำหรับนวด หรือกดบริเวณที่ตึง โดยแต่ละจุดกดค้างไว้ 30 นาที
  2. เพิ่มการเคลื่อนไหวด้วยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อ พร้อมการประคบร้อนแบบอุ่นสบาย 15-20 นาที
    1. ยืดกล้ามเนื้อคอด้านข้างและไหล่ เอาฝ่ามือวางบนศีรษะ เอียงคอไปด้านข้างจนเกิดแรงตึงที่ลำคอและไหล่ ทำสลับซ้าย – ขวา ค้างไว้ข้างละ 10 – 15 วินาที ฝึกทำวันละ 10 – 20 รอบ
    2. ยืดกล้ามเนื้อคอด้านหลัง ประสานฝ่ามือวางไว้ด้านหลังของศีรษะ กดฝ่ามือลงจนเกิดแรงตึงที่ลำคอด้านหลังและไหล่ ทำค้างไว้รอบละ 10 – 15 วินาที ฝึกทำวันละ 10 – 20 รอบ
    3. หมุนคอ โดยหมุนตามเข็มนาฬิกา และทวนเข็มนาฬิกาฝึกทำฝั่งละ 10 รอบ
    4. หยักไหล โดยให้นั่งตัวตรง และหยักไหลขึ้นตรงพร้อมกัน 2 ข้าง ฝึกทำวันละ 10 – 20 รอบ
  3. แก้ท่าทางการจัดเรียงของกระดูก
    1. ใช้นิ้วกดคาง เพื่อให้กระดูกคออยู่ในแนวเดียวกับกระดูกสันหลัง หู หัวไหล่ หน้าตรงมองไปด้านหน้า ใช้นิ้วกดคาง แล้วออกแรงดึงคอกลับด้านหลังค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 4 ครั้ง
    2. ใช้มือดันศีรษะจากด้านหลัง แล้วกดคางต้านมือดันไปด้านหลัง ค้างไว้ 15 วินาที ทำซ้ำ 4 ครั้ง

อาการเหล่านี้แม้ผิวเผินเป็นเรื่องปกติสำหรับใครบางคน แต่ในวัยทำงานหรือในทุกๆวัยก็ไม่ควรละเลย อย่างน้อยก็ควรหมั่นสังเกตลักษณะท่าทางของตนเองในกระจกบ่อย ๆ เพื่อประเมินดูอาการที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ถ้ามองดูด้านข้างกับกระจกแล้วเริ่มเห็นคอและศีรษะยื่นออกมามากกว่าปกติทั้ง ๆ ที่ยืนตรงอยู่ และมีอาการปวดคอ ปวดหลังเรื้อรัง นั่นแปลว่าคุณอาจจะมีโอกาสเป็น Forward Head Posture ได้ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใช้การใช้ชีวิตประจำวัน อย่างหมอนก็เป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญอย่างหนึ่งเลยที่ช่วยในการปรับลดอาการคอยื่นได้หรือถ้าหากมีอาการรุนแรงควรไปพบผู้เชี่ยวชาญก่อนที่อาการนั้นจะส่งผลร้ายแรงต่อไป

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า