นอนทั้งผมเปียกจนเป็นนิสัย รู้ไหมว่าส่งผลเสียมากกว่าที่คิด

เชื่อว่าคงมีหลาย ๆ คนที่ชอบสระผมตอนกลางคืน เพื่อลดเวลาในการทำกิจวัตรประจำวันในยามเช้า ช่วงเวลาเร่งรีบที่มีเวลาไม่มากนัก ซึ่งดูแล้วก็เหมือนจะเป็นการจัดสรรเวลาที่ดี หากคุณสระผมแล้วเป่าให้แห้งก่อนเข้านอน แต่สำหรับบางคนการเป่าผมให้แห้งดูจะเป็นเรื่องที่ยุ่งยากและใช้เวลานานเกินไป เลยมักจะตัดปัญหาด้วยการเข้านอนเลยทั้งที่ผมยังเปียก แฉะ และชื้นอยู่ ทำเป็นประจำจนติดเป็นนิสัย ซึ่งรู้หรือไม่ว่าการนอนทั้งที่ผมยังเปียกอยู่นั้น ส่งผลเสียต่อตัวคุณเองมากกว่าที่คุณคิด

วันนี้เราจึงตั้งใจมาบอกให้ได้ทราบกันถ้วนหน้า สำหรับใครที่ยังมีนิสัยแบบนี้อยู่ ถึงเวลารีบปรับเปลี่ยนโดยด่วน ก่อนที่ปัญหาจะทวีความรุนแรงและสายเกินแก้ไข แต่หากไม่สามารถเปลี่ยนได้เลยทันที แนะนำว่าลองหาหมอนยางพารามาใช้สักใบ เพื่อคลายหนักให้กลายเป็นเบา ด้วยคุณสมบัติพิเศษที่มีแต่ในหมอนยางพาราแท้เท่านั้น

3 ผลเสียที่ควรรู้ หากคุณเป็นหนึ่งในผู้ที่มีนิสัยชอบนอนหลับขณะที่ผมยังเปียกอยู่

1. มีอาการปวดศีรษะเป็นหวัด

เคยไหมในค่ำคืนที่สระผมก่อนนอน แล้วพบว่าตื่นเช้ามาพร้อมกับอาการครั่นเนื้อครั่นตัว เหมือนจะเป็นไข้ไม่สบาย สาเหตุหลักก็เพราะการไม่เช็ดหรือเป่าผมให้แห้งก่อนนอนนั่นเอง ด้วยเหตุเพราะร่างกายมนุษย์เราขณะนอนหลับจะมีอุณหภูมิที่สูงกว่าปกติ และเมื่อร่างกายที่อุ่นขึ้นไปปะทะกับศีรษะที่เย็นจากความเปียกชื้น ส่งผลต่อภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ต้องทำงานอย่างหนักเพื่อปรับสมดุลให้กับอุณหภูมิของร่างกาย เราจึงรู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ ไม่สบายตัวเหมือนจะเป็นไข้อย่างบอกไม่ถูก รวมถึงเส้นเลือดบริเวณศีรษะก็หดตัวลงจากการได้รับความเย็นจากเส้นผม ทำให้เกิดอาการปวดหัวตามมาอีกด้วย

2. เกิดเชื้อราบนหนังศีรษะ

ที่ใดเกิดความอับชื้นที่นั่นยอมเป็นแหล่งเพาะเชื้อราชั้นยอด แน่นอนว่าการนอนหลับทั้งที่ผมยังเปียกอยู่ เป็นตัวการสำคัญทำให้หมอนเกิดความอับชื้น รวมถึงบริเวณหนังศีรษะ ซึ่งหากการแก้นิสัยไม่ชอบเป่าผมให้แห้งก่อนนอนดูจะยากเกินไปสำหรับคุณ ลองเปลี่ยนมาใช้หมอนยางพาราราคาเป็นมิตรดู เพราะคุณสมบัติของหมอนยางพารา Pantip เองก็มีคนมากล่าวชื่นชมเป็นเสียงเดียวกัน ว่านี่คือนวัตกรรมเครื่องนอนที่แท้จริง เป็นหมอนเพื่อคนไทยที่ตอบโจทย์การนอนของคนไทยได้ตรงประเด็น

3. รังแครังควาน

หนังศีรษะที่มีความชื้นจะกระตุ้นต่อมไขมันบนหนังศีรษะให้ทำงานผิดปกติ ผลิตน้ำมันได้มากเกินจำเป็นจนหนังศีรษะขาดสมดุล กลายเป็นปัญหารังแครังควาน ที่ก่อกวนสร้างความรำคาญใจ แถมยังส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพและภาพลักษณ์ของคุณอยู่ไม่น้อย ซึ่งรังแคที่ตกลงมาบนที่นอนหรือหมอนยางพาราที่ใช้หนุนนอนเป็นประจำทุกวันนั้น ถือเป็นอาหารชั้นยอดของไรฝุ่น ศัตรูตัวจิ๋วที่ชอบหลบซ่อนอยู่ในชุดเครื่องนอนที่มีความอับชื้น และเมื่อไรฝุ่นมีอาหารหล่อเลี้ยงให้เติบโตได้นั้น ก็จะกลายเป็นปัญหาต่อที่สอง คือ โรคภูมิแพ้ถามหา อาการภูมิแพ้กำเริบทุกคืนก่อนนอน ขณะนอน และยามตื่นนอน สร้างปัญหาต่อที่สาม คือมีสุขภาพที่อ่อนแอลง ร่างกายขาดการนอนหลับพักผ่อนที่เพียงพอ ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้ไม่เต็มที่

เห็นไหมว่าเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่หลายคนมองข้าม อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่ส่งผลเสียมากกว่าที่คิดได้ในภายหลัง ซึ่งเมื่อรู้แล้วควรรีบแก้ไข ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสระผมก่อนนอน สละเวลาเพียงเล็กน้อย เป่าให้แห้งเพื่อสุขภาพที่ดีกว่า รวมถึงหันมาใช้หมอนยางพาราแท้คุณภาพดีสักใบ ซึ่งหากถามว่าหมอนยางพารายี่ห้อไหนดี แน่นอนว่าแบรนด์ที่เป็นผู้คิดค้นหมอนยางพาราเจ้าแรกของไทยอย่าง PATEX คือคำตอบที่ใช่สำหรับทุกคนอย่างแน่นอน เพราะ PATEX ผลิตเครื่องนอนบนพื้นฐานของความเข้าใจในสรีระของคนไทย จึงได้เครื่องนอนที่ถูกใจคนไทยหลับสนิทนอนสบาย มีสุขภาพการนอนที่มีคุณภาพในทุกค่ำคืน

อ่านเพิ่มเติม : สนใจสั่งซื้อหมอนยางพารา PATEX คลิกที่นี่

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์และโฆษณา

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลวส่วนบบุคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ Cookies ที่เราใช้งานได้แก่ Google Analytics และ Facebook Pixel

บันทึกการตั้งค่า