ด้วยเทคโนโลยีทันสมัยมากมายในปัจจุบัน ส่งผลให้วิถีชีวิตของคนเราที่เคยถูกกำหนดตามแสงธรรมชาติเปลี่ยนไป ถึงแม้จะอยู่ประเทศเดียวกันแต่ก็ใช้เวลาเหมือนอยู่คนละประเทศกันได้ แต่การใช้ชีวิตแบบนี้ส่งผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาว หลายคนเริ่มนอนหลับยาก มีอาการปวดหลัง ก็เลยแก้ปัญหาโดยการซื้อที่นอนยางพารามาใช้และหวังว่าจะดีขึ้น แต่หวังให้ที่นอนช่วยเพียงอย่างเดียว ก็ดูจะเป็นการมอบภาระที่หนักไป เราจึงขอพาคุณมารู้จักกับ “นาฬิกาชีวภาพ” ตัวช่วยที่จะทำให้คุณดูแลร่างกายได้ดียิ่งขึ้น
นาฬิกาชีวภาพ คืออะไร
นาฬิกาชีวภาพ (Biological Clock) เป็นระบบควบคุมการหลั่งฮอร์โมนของร่างกายโดยต่อมไพเนียลในสมอง ช่วยให้ร่างกายตื่น หลับ ขับถ่าย และทานอาหารตามเวลาที่เหมาะสมตามการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ซึ่งจะสัมพันธ์กับเวลากลางวันและกลางคืนตามแสงอาทิตย์ในธรรมชาติ การใช้ชีวิตตามสมดุลของนาฬิกาชีวภาพด้วยการกิน นอน และขับถ่ายเป็นเวลา จึงช่วยรักษาสมดุลในร่างกายได้ ทำให้สุขภาพแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคภัยต่าง ๆ หลายท่านที่มีปัญหาเรื่องนอนไม่หลับ ปวดเมื่อยตามร่างกาย จึงอาจเป็นไปได้ว่าคุณไม่ได้ใช้เวลาตามนาฬิกาชีวภาพอย่างเหมาะสม มีพฤติกรรมที่ควรหลีกเลี่ยง เช่น การเที่ยวกลางคืน เอางานมาทำที่บ้านจนเลยเวลาเข้านอน เป็นต้น
ช่วงเวลาของนาฬิกาชีวภาพ
นาฬิกาชีวภาพแบ่งออกเป็น 8 ช่วงเวลาหลัก ดังนี้
1. 03.00 น. – 06.00 น. ช่วงเวลาของปอด เหมาะกับการตื่นนอนมาสูดอากาศบริสุทธิ์
2. 06.00 น. – 09.00 น. บริหารร่างกายเบา ๆ จะทำบนที่นอนยางพาราก็ได้ เพื่อให้ลำไส้ใหญ่ขับถ่ายดีขึ้น และกระเพาะอาหารจะทำงานได้ดี เหมาะกับการทานอาหารเช้า
3. 09.00 น. – 12.00 น. ง่วงแค่ไหนก็อย่าหลับ เพราะม้ามและตับอ่อนกำลังสร้างภูมิต้าน นำสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ
4. 12.00 น. – 15.00 น. ผ่อนคลายได้แต่ไม่ควรทานอะไรจุกจิกหลัง 13.00 น. เพราะลำไส้เล็กกำลังดูดซึมกรดอะมิโน
5. 15.00 น. – 18.00 น. เวลาที่ดีสำหรับการออกกำลังกาย ช่วยให้กระเพาะปัสสาวะขับของเสียผ่านเหงื่อได้อีกทาง
6. 18.00 น. – 21.00 น. ไม่ควรทำงานหนักช่วงนี้ เพราะไตทำงานมาทั้งวันแล้ว เยื่อหุ้มหัวใจก็ต้องการพักผ่อน ควรหากิจกรรมเบา ๆ ทำ
7. 21.00 น. – 00.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดในการเข้านอน ควรทำร่างกายให้อบอุ่น ไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป
8. 00.00 น. – 03.00 น. เป็นเวลาที่คุณควรจะหลับสนิทอยู่บนที่นอนยางพาราคุณภาพดีสักผืน ให้โกรทฮอร์โมนทำงานได้อย่างเต็มที่
ทำงานเป็นกะ จะใช้ชีวิตตามนาฬิกาชีวภาพได้ไหม
หลายท่านที่จำเป็นต้องทำงานเป็นกะ ก็สามารถดูแลร่างกายให้ทำงานตามนาฬิกาชีวภาพได้เช่นกัน หากต้องนอนในเวลากลางวันควรปรับสภาพห้องให้มืดมากที่สุด บำรุงภูมิต้านทานด้วยการทานอาหารที่มีวิตามินซี แบ่งเวลาสำหรับการออกกำลังกายอย่างน้อย 30 – 45 นาทีต่อวัน จัดตารางกิจกรรมให้มีความสม่ำเสมอ และไม่ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ บนที่นอน เพราะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
นอกจากนี้ ควรมีตัวช่วยที่ดีเพื่อการนอนที่มีคุณภาพอย่างที่นอนยางพาราด้วย เช่น ที่นอนยางพารา PATEX ที่ผลิตจากยางพาราแท้ 100% รุ่น Back Smile ที่มีนวัตกรรม 7 BODY ZONE SUPPORT ช่วยรองรับจุดสำคัญของร่างกายถึง 7 จุด จึงช่วยลดอาการปวดหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่เสี่ยงกับอาการออฟฟิศซินโดรม แม้จะต้องนอนในเวลากลางวันที่นอนยางพาราของ PATEX ก็จะช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น หลับสนิท ไม่ต้องกังวลว่าร่างกายจะทรุดโทรมเพราะพักผ่อนไม่เพียงพออีกต่อไป